News & Events
In the News

PEA, Mitsubishi Motors and Delta Join Hands to Elevate EV Charging and Ownership Experience Across Thailand

Manager Daily 360

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ร่วมกับบริษัทมิตซูมิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เพื่อความร่วมมือระหว่าง 3 ฝ่ายด้านยามยนต์ไฟฟ้า สถานีชาร์จ และแอปพลิเคชันของ กฟภ. สำหรับชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า

ความร่วมมือของทั้งสามฝ่ายครั้งนี้จะผลักดันให้เกิดการใช้ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย ผ่านการแบ่งปันข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าจาก มิตซูบิชิ มอเตอร์ส และที่ตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าของ เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ซึ่งจะยกระดับประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าชาวไทยผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือของ กฟภ.ที่ช่วยให้ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถค้นหาสถานีชาร์จทั่วประเทศได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึน

จากความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยสนับสนุนแผนพัฒนาด้านพลังานของรัฐบาลไทย ที่กำหนดเป้าหมายให้มีรถยนต์ไฟฟ้า 1.2 ล้านคันบนท้องถนนภายใยปี 2579

เลิศชาย แก้ววิเชียร ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจและการตลาด การไฟฟ้าภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า กฟภ. สนองนโยบายด้สนยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐด้สยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการใช้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมเส้นทางการคมนาคมในเส้นทางหลักทุก 100 กิโลเมตร ทั่วประเทศ จำนวน 62 สถานี ภายในปี 2564 เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าผ่าน PEA's Mobile Application โดยผู้ใช้บริการสถานีอัดประจุๆฟฟ้าสามารถค้นหาสถานี จองคิว สั่งชาร์จ และหยุดชาร์จได้อย่างง่ายดาย

มร. โมะริคาซุ ซกกิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า "มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ซึ่งบริษัทฯ เชื่อมั่นว่าจากความร่วมมือในครั้งนี้ จะผลักดันให้เกิดการขยายจำนวนสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้ารวมถึงรถพีเอชอีวีไปทั่วประเทศไทยอย่างรวดเร็ว เพิ่มความสะดวกสบายคลายข้อกังวลในเรื่องของข้อจำกัดด้านระยะทางการขับขี่ เป็นการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ากันมากขึ้น"

"บริษัทมุ่งมั่นสนับสนุนแผนการส่งเสริมการใช้ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย โดยเมื่อต้นเดือนธันวาคนที่ผ่านมา บริษัทฯได้เหิดตัวรถยนต์ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ที่ไม่ใช่เป็นเพียงรถเอสยูวีแบบปลั๊กอินไฮบริดรุ่นแรกของโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นรถพีเอชอีวีที่ขายดีที่สุดในโลกอีกด้วย และสามารถใช้ได้ทั้งทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน

ความร่วมมือครั้งนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการค้นหาสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านแอปพบิเคชันของ กฟภ. และช่วยมอบความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยในการติดตั้งอุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่บ้านให้กับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า โดยเฉพาะกับรถยนต์ มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี รถเอสยูวีแบบปลั๊กอินไฮบริดรุ่นแรกของโลกที่เปิดตัวเมื่อต้นเดือนธันวาคนที่ผ่านมา ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งพลังงานไฟฟ้าและน้ำมัน ขอยืนยันว่า มีความมุ่งมันในการมอบประสบการณ์ที่ "สบายใจ ไร้กังวล" ในการเป็นเจ้าของรถยนต์มิตซูบิชิ เอาท์แลนเดอร์ พีเอชอีวี ให้กับลูกค้าของเรา" มร โมะริคาซุ ซกกิ กล่าวเสริม

แจ็กกี้ จาง ประทานบริหารเดลต้า ประเทศไทย กล่าวว่า "เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เพื่อนำประเทศไทยสู่การขับขี่ที่รถยนต์ที่ใช้พลังงานสะอาดและมอบประสบการณ์การขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าที่สะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น เดลต้ามีความสามารถหลักอันโดดเด่นด้านการแปลงกระแสไฟฟ้าและการจัดการพลังงาน ทำให้เราสามารถพัฒนาโซลูชันการชาร์จประสิทธิภาพสูง พร้อมมาตรฐานความปลอดภัยที่ผ่านการใช้งานจริงและได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งที่ผ่านมา เดลต้าได้รับความไว้วางใจจากผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าระดับโลกอย่าง มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย รวมถึงผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก"

โดยที่ กฟภ. ให้การสนับสนุนการใช้งานแอปพลิเคชันของกฟภ. และมอบบริการตรวจสอบระบบไฟฟ้าแรงต่ำ ณ สถานที่ตั้งจริง (ที่อยู่อาศัยและสำนักงาน) รวมถึงการติดตั้งระบบไฟฟ้า เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับที่ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ด้านมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย เป็นผู้ให้ข้อมูลด้านการตลาดและผลิตภัณฑ์รถยนต์ไฟฟ้าประเภทปลั๊กอินไฮบริด พีเอชอีวี ข้อมูลสถานที่ชาร์จ และร่วมพัฒนาแบ่งปันฐานข้อมูลความรู้เกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าให้กับ กฟภ.

ส่วนการวางจุดตำแหน่งสถานที่ชาร์จของเดลต้า ผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าสามารถใช้แอปพลิเคชันของ กฟภ. เพื่อดำเนินการจองสั่งงาน การเริ่ม้น และหยุดชาร์จไฟ ตลอดจนชำระเงินผ่านแอปพลิเคชัน ซึ่งเดลต้าจะส่งข้อมูลจากเครื่อชาร์จไปยังเซิร์ฟเวอร์ของ กฟภ. ตามมาตรฐาน OCPP (Open Charge Point Protocol)

25 March 2021

Delta Electronics (Thailand) - Mahidol Engineering Plc. Cooperate for the Future, Cooperation-research, Development, Innovation

Mitihoon

มิติหุ้น - คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร. ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ รองคณะบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพีนธ์ นำทีมบริหารเยี่ยมชม บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยมี มร. จอฆืนนี่ ทัม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจและการตลาด และทีมบริหาร ให้การต้อนรับในการศึกษาดูงานความก้าวหน้าในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิคส์และระบบออโตเมชัน ณ สำนักงานใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู เพื่อหารือความร่วมมือการทำวิจัยพัฒนาร่วมมือกันเพื่อคุณภาพชีวิต สังคมแลนเศรษฐกิจไทย

โดยแนวทางความร่วมมือจะมุ่งพัฒนาวัตกรรมการต่อยอดเทคโนโลยีต่างประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ในประเทศ (Technology Localization) งานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาภาคอุตสาหกรรม และยกระดับงานวิจัยสู่ภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาวิศวะมหิดลคนรุ่นใหม่และกิจกรรมส่งเสริมการร่วมสร้างสรรค์ (Co-Creation) ด้านการศึกษาแก่เยาวชนไทย เพื่อเสริมความเข้นแข่งแนวคิดใหม่ในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรมบูรณาการ รวมทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนความร่วมือเพื่อพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจให้ก้าวหน้ายั่งยืน

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทชั้นนำของไทยและสร้างชื่อเสียงในตาดโลก โดยเป็นผู้วิจัยพัฒนา ออกแบบ ผลิตและให้บริกสร อาทิ ระบการจัดการพลังงานและผลิตชิ้นส่วนอีเล็คทรอนิคส์ ระบบออโตเมชัน พาวเวอร์ซัพพลาย อุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ โครงสร้างพื้นฐานด้นพลังงาน - อุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ - สื่อสาร EV Charger เป็นต้น การพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีจากต่าง ประเทศสำหรับอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์

 

18 March 2021