News & Events
In the News

DELTA เปิดตัว DIGITAL PROJECTION INSIGHT 8K เลเซอร์โปรเจกเตอร์รุ่นแรกของโลก

DROIDSANS

Delta Electronics ถือว่ามีอายุอานามครบ 50 ปีแล้วในปี 2021 นี้ โดยภายในงานเฉลิมฉลองครั้งนี้ ทางบริษัทก็ถือโอกาสเปิดตัวเลเซอร์โปรเจกเตอร์ความละเอียด 8K รุ่นแรกของโลกในชื่อ Digital Projection Insight 8K มาวางขายในตลาดประเทศไทย

Digital Projection Insight 8K เครื่องฉายเลเซอร์โปรเจกเตอร์ความละเอียด 8K รุ่นแรกของโลก มาพร้อมกับความสว่าง 25,000 ANSI lumens (ดันได้สูงสุด 37,000 ANSI lumens) เหมาะกับการแสดงภาพที่ต้องการความคมชัดสูง ๆ อย่างภาพทางการแพทย์วิทยาศาสตร์ รวมไปถึงการใช้งานในด้านบันเทิงอย่างดูหนังดูซีรีส์

โดยเครื่องฉายเลเซอร์โปรเจกเตอร์ตัวนี้ มาพร้อมกับเทคโนโลยี Lamp-Free ใช้งานได้แบบยาว ๆ 20,000 ชั่วโมง ไม่มีปัญหาภาพไม่ชัดหรือสว่างไม่พอ ไม่ต้องเปลี่ยนหลอดไฟ

06 April 2021

เดลต้าฉลองครบรอบ 50 ปี พร้อมเปิดตัวเลเซอร์โปรเจ็กเตอร์ 8K ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืน

AV Tech Guide

งานเฉลิมฉลองครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้ธีมครบรอบ 50 ปีของเดลต้า “Influencing 50 Embracing 50: 50 ปี พลังงานประสิทธิภาพ และ 50 ปีต่อไป เทคโนโลยีในโลกยุคดิจิทัล” ถือเป็นการแสดงความขอบคุณต่อพนักงาน ลูกค้า และพันธมิตร ที่ให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานานหลายทศวรรษ

โดยนาย บรูซ เจิ้ง ผู้ก่อตั้งและประธานกิตติมศักดิ์ของเดลต้า ได้กล่าวผ่านวีดิทัศน์ว่า “ทางบริษัทมีความภาคภูมิใจในการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจเดลต้า ประเทศไทย ขณะนี้เรากำลังร่วมกันส่งเสริมระบบการผลิตอัจฉริยะและเมืองสีเขียวในประเทศไทย

ส่วนตัวผมเองนั้นรู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ผลิตภัณฑ์ของเดลต้าช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ถึง 31.4 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 จนถึงปี พ.ศ. 2562 และสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้มากกว่า 16 ล้านตัน นอกจากนี้ บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะลดความเข้มของคาร์บอนลงถึง 56% ภายในปี พ.ศ. 2568 อีกด้วย”

นายแจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร เดลต้า ประเทศไทย กล่าวว่า “เดลต้าได้ปูทางในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ด้วยนวัตกรรมชั้นนำของอุตสาหกรรม พร้อมด้วยความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าในการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน และเราจะก้าวต่อไปในอีก 50 ปีข้างหน้าด้วยโซลูชันและระบบประหยัดพลังงานของเดลต้าเพื่อชีวิตที่สมบูรณ์และยั่งยืน”

05 April 2021

Delta Receives Leader Rank in Global Child Forum 2020 Southeast Asia Benchmark

Thailand Industry

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้รับคะแนนจากการประเมิน 7.8/10 ส่งผลให้คว้าตำแหน่งผู้นำด้านองค์กร และผู้นำเกณฑ์มาตรฐานสิทธิเด็กในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำปี 2564 ซึ่งจัดขึ้นโดย Global Child Forum และ Boston Consulting Group โดยในครั้งนี้ เดลต้าเป็นบริษัทเดียวในประเทศไทยที่ถูกจัดให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำประเภทธุรกิจ B2B

เกณฑ์มาตรฐานของ Global Child Forum ครั้งที่สอง ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดอันดับคะแนนทั้งหมดจาก 232 บริษัทที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค โดยคิดคะแนนจากวิธีจัดการกับสิทธิเด็กของบริษัทแต่ละแห่งผ่านการดำเนินงานและชุมชนแวดล้อม ทั้งนี้ มีเพียง 13 บริษัท หรือ 5% ของบริษัทที่ได้รับการเปรียบเทียบทั้งหมดเท่านั้นที่ได้รับอันดับผู้นำ ซึ่งเดลต้าเป็นหนึ่งใน 5 บริษัทในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดนี้

การประเมินคะแนนดังกล่าว ได้ให้การยอมรับเดลต้าในฐานะผู้พัฒนาและดำเนินนโยบาย รวมทั้งแนวปฏิบัติขององค์กรที่มีผลต่อสิทธิของเด็กในประเด็นสำคัญต่างๆ โดยระดับคะแนนประเมินจาก 1 ถึง 10 จะถูกคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยคะแนนรวมและคะแนนเฉพาะด้าน ทั้งนี้ คะแนนเฉลี่ยของผู้เข้าร่วมประกวดจากอุตสาหกรรม B2B ในการประเมินปี 2564 อยู่ที่ 5.3

ในฐานะผู้นำ เดลต้าได้รับการยอมรับในการพัฒนานโยบายอย่างเป็นรูปธรรม และปลูกฝังความเชื่อเกี่ยวกับสิทธิของเด็กไว้ในทุกการปฏิบัติงานของบริษัท รวมทั้งยังมีการติดตามผลการรายงานที่โปร่งใส รวมถึงโครงการต่างๆ เพื่อสิทธิของเด็ก

Global Child Forum คือ มูลนิธิที่ไม่แสวงหาผลกำไรจากสวีเดน การประเมินดังกล่าวดำเนินการโดย Boston Consulting Group และมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม สถาบันการศึกษา และรัฐบาลเข้าด้วยกัน เพื่อกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในด้านสิทธิของเด็ก โดยงานนี้อยู่ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็กและหลักการบริหารธุรกิจ

ในฐานะธุรกิจที่ยั่งยืนในประเทศไทย เดลต้ามุ่งมั่นในการเพิ่มมูลค่าให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องผ่านการดำเนินธุรกิจแล้วสร้างสรรค์นวัตกรรมที่มีจริยธรรม นอกจากนี้ เดลต้ายึดมั่นในความเป็นความเป็นองค์กรพลเมืองดีของโลกที่ดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN SDGs), มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO), ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) และหลักจรรยาบรรณแห่งพันธมิตรธุรกิจผู้มีความรับผิดชอบ (RBA)

29 March 2021

Vajira Hospital, Delta, and Honda co-produce masks to fight COVID-19

Naew Na

การตรวจดูแลรักษาผู้ติดเชื้อโควิดนั้น บุคลากรการแพทย์ทั้งหลายจะต้องแต่งกายด้วยชุดคลุมหัวใส่ถุงมือถุงเท้าคล้ายมนุษย์อวกาศ ที่เรียกว่า PPE(Personal Protective Equipment)ซึ่งสามารถใช้เพียงครั้งเดียวก็ต้องทิ้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อโควิดจากผู้ป่วยผู้ที่ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีความอึดอัด เพราะทั้งร้อนและระบายอากาศไม่ได้ ดังนั้นจึงมีผู้คิดนำพัดลมเข้าไปประกอบกับชุดป้องกันดังกล่าว เรียกว่า PAPR (Power Air Purifying Respirator) หรือ หน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะชนิดมีพัดลม แต่ในบทความนี้จะเรียกอุปกรณ์นี้ว่า “ไอ้โม่งพัดลม” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใหม่ ยังไม่ค่อยมีจำหน่ายแพร่หลายในตลาด และมีราคาแพงถึงชุดละราว 40,000 บาท แต่บัดนี้สามารถผลิตใช้ในประเทศไทยได้แล้วโดย คณะแพทย์ศาสตร์ วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช ร่วมกับ บริษัท ฮอนด้า (ประเทศไทย) และบริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ผศ.นพ.อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดีคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดเผยว่า หน้ากากพัดลมPAPR ที่หน่วยงานวิจัย ของวชิรพยาบาล ดำเนินการพัฒนาและผลิตขึ้นโดยประยุกต์มาจากหน้ากากดำน้ำแบบสนอร์เกิล เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อจากผู้ป่วยสู่บุคลากรการแพทย์ เช่นการขนย้ายผู้ป่วย การช่วยฟื้นชีพ การใส่/ถอดเครื่องช่วยหายใจ ดูดเสมหะ พ่นยา รวมทั้งการผ่าชันสูตรศพ อุปกรณ์ดังกล่าวได้ผ่านการทดสอบมาตรฐานของอุปกรณ์ทางการแพทย์ จากกรมวิทยาศาสตร์บริการ สามารถปรับความดันได้ทั้งแบบบวกและลบ สามารถช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้ดีมากยิ่งขึ้น โดยมีความพิเศษตรงที่ยังสามารถปรับความดันให้เป็นลบเพื่อใช้สำหรับขนย้ายผู้ป่วยได้ ซึ่งจะเป็นมิติใหม่ของการรักษา

กองทุนฮอนด้าเคียงข้างไทย ร่วมกับเครือข่ายผู้จำหน่ายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ฮอนด้าทั่วประเทศ ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือสังคมไทย ต้านภัยโควิด-19 โดยได้ดำเนินการผลิต หน้ากากแรงดันลบและบวกป้องกัน โควิด-19 จำนวน 1,000 ชิ้น และอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ ให้แก่โรงพยาบาล 96 แห่งทั่วประเทศ พร้อมกับเครื่องพ่นยาฆ่าเชื้อ 100 ตัว เมื่อรวมความช่วยเหลือที่ทางกองทุนฮอนด้าฯ ได้ร่วมต้านภัยโควิด รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นกว่า 80 ล้านบาท

บริษัท เดลต้าอีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบริษัท ไทย-ไต้หวัน บริจาคพัดลมปลอดเชื้อประสิทธิภาพสูง รุ่น BFB1012EH-A ที่ผลิตในประเทศไทย สามารถชาร์จไฟโดยใช้ USB ที่ติดตั้งมาในตัวเพื่อพัฒนาและผลิตชุดปลอดเชื้อความดันบวกและหน้ากากป้องกันเชื้อโรคแบบคลุมศีรษะพร้อมชุดกรองอากาศประสิทธิภาพสูง (Powered Air PurifyingRespirator หรือ PAPR) อากาศที่ออกมาจากพัดลม จะถูกกรองจากแผ่นกรองอากาศ HEPA (High-efficiency particulate air) H14 ที่เป็นมาตรฐานการกรองสำหรับการแพทย์

ความร่วมมือระหว่างหน่วยราชการและเอกชนไทยในการประดิษฐ์อุปกรณ์ป้องกันรักษาโควิดในครั้งนี้ นอกจากจะสามารถนำไปใช้ในประเทศไทยแล้ว ยังอาจนำไปใช้ในต่างประเทศทั่วโลกที่ประสบภัยจากโควิดเช่นเดียวกันได้อีกด้วย

 

25 March 2021

Delta Electronics Thailand Wins S&P Global SAM Silver Class Sustainability Award for the 2 second year

THE STANDARD

บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ DELTA ได้รับรางวัลระดับ Silver Class จาก S&P Global ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 โดยเป็นบริษัทในกลุ่ม ‘ชิ้นส่วนอุปกรณ์และส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์’ หนึ่งเดียวจากประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ใน The Sustainability Yearbook 2021

จากการได้รางวัลระดับ Silver Class จาก S&P Global ติดต่อกันเป็นปีที่ 2 ถือเป็นการตอกย้ำเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ในฐานะการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลกในอุตสาหกรรมดังกล่าว และเป็นการยืนยันจุดยืนในฐานะผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลกในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย

แจ็คกี้ จาง ประธานบริหาร DELTA กล่าวว่าเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัล Sliver Class เป็นครั้งที่ 2 หลังจากเป็นเวลากว่า 30 ปีที่เรามุ่งเน้นในด้านพันธกิจเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าทั่วโลกด้วยนวัตกรรมประหยัดพลังงาน ในขณะเดียวกันบริษัทเป็นผู้บุกเบิกการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน เรารู้สึกซาบซึ้งและขอบคุณการสนับสนุนจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคนที่ร่วมกันเดินทางในธุรกิจนี้ ซึ่งมุ่งการดำเนินงานเพื่อสังคมและเพื่อพลเมืองทั่วโลก

มันจิต จุส หัวหน้าฝ่ายวิจัยและข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และธรรมาภิบาลของ S&P Global กล่าวว่าทุกบริษัทที่ได้รับรางวัลใน Yearbook ดังกล่าวล้วนมีผลการดำเนินงานดีเยี่ยมเมื่อเทียบกับกลุ่มบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน ตลอดจนเทียบผลการดำเนินการด้านเศรษฐกิจ สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ด้วย

ในปี 2563 S&P Global ได้ทำการประเมินบริษัทจดทะเบียนทั่วโลกกว่า 7,032 แห่ง ใน 61 กลุ่มอุตสาหกรรม ด้วยกระบวนการประเมินด้านความยั่งยืน (CSA) โดยบริษัท 630 แห่งผ่านการประเมินและได้รับการจัดลำดับอยู่ใน Yearbook ของปีนี้โดยพื้นฐานการคัดเลือกจากเกณฑ์คะแนน S&P Global ESG จากกระบวนการประเมินด้านความยั่งยืน (CSA) ซึ่ง DELTA ได้รับรางวัลระดับ Silver Class โดยเป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับคะแนน CSA รวมอย่างน้อย 57 คะแนน ซึ่งอยู่ในช่วง 1-5% ของบริษัทที่มีผลการดำเนินการด้านความยั่งยืนสูงสุดในแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม

25 March 2021