เกี่ยวกับเรา

การวิจัยและพัฒนา (R&D)

การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี

หน่วย 2561 2562 2563 2564 2565
การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ดอลลาร์สหรัฐ (ล้าน) 111.9 2713.2 2620.5 3165.3 3,742

จำนวนพนักงานด้านวิจัยและพัฒนาในแต่ละศูนย์วิจัยและพัฒนา

ภูมิภาค 2561 2562 2563 2564 2565
ประเทศไทย 535 590 583 716 765
ยุโรป 295 347 365 376 455
อินเดีย 245 293 302 281 288
จำนวนพนักงานรวม 1,075 1,230 1,250 1,373 1,508

การส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

รางวัล Delta Innovation Award

กลุ่มบริษัทเดลต้าได้มีการจัดรางวัล Delta Innovation Award เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อกระตุ้นและยกย่องการออกแบบนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพของพนักงานในกลุ่มเดลต้าทั่วโลก ซึ่งผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำไปพัฒนานวัตกรรมของบริษัทต่อไป โดยมีการแข่งขันใน 4 ประเภทรางวัลและมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

  • Intellectual Property (IP): การคิดค้นและ/หรือการสร้างแฟ้มข้อมูล IP คุณภาพสูงที่มีมูลค่าทางธุรกิจที่ชัดเจน
  • New Product: การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีใหม่ หรือสถาปัตยกรรมระบบ หรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า
  • Manufacturing: นวัตกรรมด้านการผลิตเพื่อคุณภาพ ผลผลิต และต้นทุนรวมที่ต่ำลง
  • New Business Model / New Business Process: นวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจหรือกระบวนการทำงาน เช่น R&D การตลาด การจัดซื้อ โลจิสติกส์ และการบูรณาการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจที่ดีขึ้น

รางวัล DET Patents Recognition Ceremony

เดลต้าฯได้จัดพิธีมอบรางวัล DET Patents Recognition Ceremony เพื่อยกย่องพนักงานผู้ประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ และเป็นการขอบคุณในความทุ่มเทให้กับการพัฒนานวัตกรรมให้กับบริษัทฯ และใช้โอกาสนี้ในการนำเสนอและแบ่งปันความรู้ของผู้ที่ได้รับรางวัลแก่พนักงานอื่นๆ อีกด้วย

ระบบควบคุมการจัดการอาคาร VTScada ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เดลต้าฯ ประสบความสำเร็จในการนำระบบควบคุมการจัดการอาคาร (FMCS) ขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ VTScada มาใช้เป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในเดลต้า โรงงาน 7 ณ นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ VTScada เป็นซอฟต์แวร์ SCADA ชั้นนำของอุตสาหกรรมที่พัฒนาโดย Trihedral บริษัทสัญชาติแคนาดาในกลุ่มเดลต้า

ระบบที่ขับเคลื่อนด้วยซอฟต์แวร์ VTScada ภายในเดลต้า โรงงาน 7 มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการจัดการอาคารและลดการใช้พลังงานของการดำเนินงานและการผลิตทั้งหมด ผู้ควบคุมสามารถใช้ระบบซอฟต์แวร์ทรงประสิทธิภาพนี้สำหรับการตรวจสอบและการรายงานข้อมูลการใช้พลังงานอย่างละเอียดและยืดหยุ่น พร้อมกับอุปกรณ์

ควบคุมอัตโนมัติของระบบปรับอากาศ HVAC ของโรงงาน นอกจากนี้ ข้อมูลแบบเรียลไทม์และการทำงานผ่านซอฟต์แวร์ ปราศจากการใช้กระดาษ ช่วยลดการทำงานในพื้นที่ และช่วยให้ผู้จัดการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลอย่างเร็วขึ้น

ในปี 2564 ทีมงานระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้าฯ ได้นำซอฟต์แวร์ VTScada มาสู่ตลาดไทย และริเริ่มโครงการแอปพลิเคชันแรกที่รวมซอฟต์แวร์ VTScada เข้ากับ DIAEnergie ซอฟต์แวร์การจัดการพลังงานของเดลต้า (Energy Management System : EMS) การรวมกันของระบบ SCADA และ EMS ได้มอบแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบสำหรับการควบคุมผลิตภัณฑ์ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมของเดลต้าในโซลูชั่นการจัดการอาคารแบบครบวงจร

ทีมงานระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้าประเทศไทย ได้พัฒนาระบบควบคุมจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก (FMCS) ที่โรงงานเดลต้า โรงงานที่ 7 โดยใช้ความสามารถเฉพาะของเดลต้า เพื่อส่งมอบความช่วยเหลือในพื้นที่โดยผู้เชี่ยวชาญ และราคาที่เหนือกว่าคุณภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับในท้องตลาด โดยอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้โครงการนี้ประสบความสำเร็จ คือ ความสัมพันธ์ในการทำงานที่ยอดเยี่ยมระหว่างทีมวิศกรเดลต้า และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

นวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

ฟาร์มอัจฉริยะสำหรับวิสาหกิจชุมชน

เดลต้าฯ เปิดตัวโซลูชั่นสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm Solution) ฟาร์มอัจฉริยะแห่งแรกของเดลต้าสำหรับวิสาหกิจชุมชนในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ มาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก (Investment Promotion Measures for Grassroots Economy) ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างบีโอไอ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และเทศบาลตำบลแพรกษา มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจระดับฐานรากของประเทศไทย

โซลูชั่นของเดลต้าฟาร์มอัจฉริยะนี้ขับเคลื่อนด้วยระบบ IoT ควบคุมระบบทั้งหมดด้วยซอฟต์แวร์ระดับโลก VTScada พร้อมอุปกรณ์ระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติของเดลต้า ซึ่งโซลูชั่นนี้ใช้ประโยชน์จากระบบอัตโนมัติในการปรับปรุงประสิทธิภาพ ลดแรงงานคน การใช้ไฟฟ้าทั้งหมดมาจากพลังงานแสงอาทิตย์ และมีระบบบำบัดน้ำเสียแบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) ที่ช่วยให้มีปริมาณการใช้น้ำเพียงร้อยละ 10-20 เมื่อเทียบกับความต้องการปกติเมื่อเทียบกับการทำฟาร์มแบบดั้งเดิม ทั้งยังลดระยะเวลาในการปลูกจาก 40-45 วัน เหลือเพียง 35 วัน โดยผลผลิตมีน้ำหนักและคุณภาพที่สม่ำเสมอมากขึ้น ซึ่งผลผลิตที่ได้สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนได้ถึง 8,000-10,000 บาทต่อเดือน

บริษัทฯ คาดว่าโครงการนี้คาดว่าจะเติบโตไปสู่รูปแบบธุรกิจที่เป็นไปได้ ในขณะเดียวกันยังช่วยพัฒนาคุณภาพและกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อก้าวสู่ตลาดในอนาคต บริษัทฯ หวังว่าโครงการนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของรูปแบบการทำฟาร์มอัจฉริยะรูปแบบใหม่ที่ปฏิวัติภาคการเกษตรของประเทศไทยและสร้างประโยชน์แก่ชุมชนทั่วประเทศ

ระบบตรวจเฝ้าระวังระดับน้ำอัจฉริยะเพื่อป้องกันอุทกภัยให้กับนิคมอุตสาหกรรมบางปู

เในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อชุมชน เดลต้าได้ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อความต้องการทางสังคม การขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วในบริเวณชายฝั่งบางปูและแพรกษาได้ขัดขวางการไหลของน้ำในเครือข่ายคลองท้องถิ่น ในปี 2563 เกิดเหตุการณ์ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในเขตส่งออกของนิคมอุตสาหกรรมบางปู

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เดลต้าฯ ได้มอบระบบตรวจเฝ้าระวังระดับน้ำอัจฉริยะเพื่อช่วยป้องกันน้ำท่วมที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู ระบบตรวจเฝ้าระวังระดับน้ำอัจฉริยะนี้จะใช้ประโยชน์จากเราเตอร์ระบบคลาวด์สำหรับอุตสาหกรรมและบริการ DIACloud ของเดลต้า เพื่อให้สามารถตรวจเฝ้าระวังและควบคุมสถานีสูบน้ำได้อย่างแม่นยำ โดยข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้นิคมอุตสาหกรรมบางปูมีข้อมูลระดับน้ำในโครงข่ายคลองที่แม่นยำยิ่งขึ้นเพื่อป้องกันอุทกภัย

โชว์รูมตู้คอนเทนเนอร์ Net Zero แห่งแรก

เดลต้าฯ เปิดตัวโชว์รูมตู้คอนเทนเนอร์ Net Zero ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี ภายใต้ธีมงานจัดแสดงพลังงานทดแทนร้อยละ 100 ของเดลต้า พลังงานสะอาดอัจฉริยะสำหรับยุค RE100 โซลูชั่นพลังงานสะอาดของเดลต้าประกอบด้วยโซลาร์รูฟท็อป ซึ่งสามารถผลิตพลังงานได้สูง 38kWh ต่อวัน

จัดเก็บในระบบแบตเตอรี่ 57.6kWh สำหรับการใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง ระบบจัดการแบตเตอรี่ (BMS) จะช่วยให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างเหมาะสมโดยการมอนิเตอร์พลังงานที่มีอยู่และควบคุมการใช้พลังงานจากแสงสว่างและเครื่องปรับอากาศ VRV (Variable Regulating Valve) ตามการใช้งานจริง

โชว์รูมตู้คอนเทนเนอร์แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของเดลต้าในเรื่อง “Smart Wellbeing” สำหรับอาคาร ด้วยโซลูชั่นการจัดการอาคารอัจฉริยะของเดลต้าที่ใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์ควบคุมห้องและแผงควบคุมเพื่อจัดการระบบไฟ HVAC และอุณหภูมิผ่านโปรโตคอล BACnet และตรวจสอบคุณภาพอากาศด้วยเซ็นเซอร์ผ่านโปรโตคอล MODBUS ประกอบด้วย กล้องอัจฉริยะจดจำใบหน้าและการเฝ้าระวังเพื่อความปลอดภัย การป้องกันโควิด-19 และการระบายอากาศของแผ่นกรอง HEPA เพื่อให้อากาศปราศจากมลภาวะ บริสุทธิ์ และช่วยลด CO2 และฝุ่น PM 2.5

โซลูชั่นโมดูลาร์ดาต้าเซ็นเตอร์ที่ปรับขนาดได้ของเดลต้า เปรียบเหมือนสมองของอาคารอัจฉริยะนี้ โดยทำหน้าที่จัดการข้อมูลทั้งหมดตั้งแต่ความปลอดภัย ความสว่าง สิ่งแวดล้อม และการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ดาต้าเซ็นเตอร์แบบโมดูลาร์จะจัดเก็บข้อมูลการรักษาความปลอดภัยของกล้องวงจรปิดและแสดงข้อมูลวิดีโอจากโชว์รูมและเสาไฟอัจฉริยะ พร้อมคุณสมบัติการจัดการจากระยะไกล ด้วยโซลูชั่นโมดูล่าร์ดาต้าเซ็นเตอร์ของเดลต้า ช่วยให้แอพพลิเคชั่นซึ่งใช้ไฟสูงทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเยี่ยมชม 360 Tour ตู้คอนเทนเนอร์ Net Zero ได้ที่ https://netzero.deltathailand.com

เดลต้าฯ ไม่หยุดที่จะให้บริการนวัตกรรมชั้นนำแก่ลูกค้า ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับโลก และเป้าหมาย RE100 ในการผลิตพลังงานทดแทนร้อยละ 100 จากการดำเนินงานทั่วโลกภายในปี 2573 ความมุ่งมั่นนี้จะช่วยให้บริษัทฯบรรลุพันธกิจของบริษัท: Smarter. Greener. Together.