เกี่ยวกับเรา

การวิจัยและพัฒนา (R&D)

การวิจัยและพัฒนา

จากพันธกิจ “มุ่งมั่นสร้างสรรค์นวัตกรรมการใช้พลังงานสะอาด และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเพื่ออนาคตที่ดีกว่า” เดลต้าฯ ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อยอดธุรกิจที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีศักยภาพ เดลต้าฯ ประสบความสำเร็จในการปรับแต่งและการขยายสายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องให้กับคุณสมบัติหลักของผลิตภัณฑ์ เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้น อัตราการจ่ายพลังงานต่อขนาดสูงขึ้น และการใช้ระบบดิจิตอลมาควบคุมการทำงานมากขึ้น

เดลต้าฯ ได้ผนวกความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชั้นนำของตลาด เดลต้าฯ มีเครือข่ายศูนย์วิจัยและพัฒนาที่ครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียและยุโรป และยังได้จับมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วโลกทำโครงการวิจัยเพื่อสร้างเทคโนโลยีที่ทันสมัยและยั่งยืนจำนวนมาก ความร่วมมือดังกล่าวมีส่วนสำคัญอย่างมากในการต่อยอดงานด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของเดลต้าฯ ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเปรียบเทียบย้อนหลัง 5 ปี

หน่วย 2562 2563 2564 2565 2566
การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา ล้านบาท 2,745 22,621 3,165 3,742 3,876

การส่งเสริมนวัตกรรมในองค์กร

รางวัล Top 100 Global Innovators 2023

กลุ่มบริษัทเดลต้าได้รับการยกย่องให้เป็นบริษัทนวัตกรรมระดับโลก 100 อันดับแรกประจำปี 2566 โดย Clarivate สำหรับผลงานด้านนวัตกรรมและสิทธิบัตรทรัพย์สินทางปัญญาที่เหนือกว่า โดยในปี 2565 จำนวนสิทธิบัตรทั้งหมดที่ได้รับการอนุมัติสำหรับเดลต้ามีมากกว่า 15,000 รายการ ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน ยุโรป ซึ่งสิทธิบัตร 1,070 รายการได้รับการอนุมัติในปี 2565 เพียงปีเดียว

รางวัล Delta Innovation Award

กลุ่มบริษัทเดลต้าได้มีการจัดรางวัล Delta Innovation Award เป็นประจำทุกปีมาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อกระตุ้นและยกย่องการออกแบบนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพของพนักงานในกลุ่มเดลต้าทั่วโลก ซึ่งผลงานที่ได้รับคัดเลือกจะถูกนำไปพัฒนานวัตกรรมของบริษัทต่อไป โดยมีการแข่งขันใน 4 ประเภทรางวัลและมีเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

  • Intellectual Property (IP): การคิดค้นและ/หรือการสร้างแฟ้มข้อมูล IP คุณภาพสูงที่มีมูลค่าทางธุรกิจที่ชัดเจน
  • New Product: การพัฒนาแอปพลิเคชันเทคโนโลยีใหม่ หรือสถาปัตยกรรมระบบ หรือเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า
  • Manufacturing: นวัตกรรมด้านการผลิตเพื่อคุณภาพ ผลผลิต และต้นทุนรวมที่ต่ำลง
  • New Business Model / New Business Process: นวัตกรรมในรูปแบบธุรกิจหรือกระบวนการทำงาน เช่น R&D การตลาด การจัดซื้อ โลจิสติกส์ และการบูรณาการเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางธุรกิจที่ดีขึ้น

นวัตกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

มูลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ร่วมจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ปะการังคาร์บอนเป็นศูนย์

มูลลนิธิเดลต้า อีเลคโทรนิคส์ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทะเลแห่งชาติไต้หวัน (NMMST) ร่วมกันเปิดศูนย์อนุรักษ์ปะการัง ‘เฉาจิ้ง (Chaojing)' ซึ่งศูนย์ฯ แห่งนี้มุ่งมั่นที่จะสร้างเรือนกระจกที่เหมาะสมและประหยัดพลังงานสำหรับการเจริญเติบโตของปะการังด้วยระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและอาคารของเดลต้า และโซลูชั่นการจัดการสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะแบบบูรณาการ โดยคาดว่าจะสามารถฟื้นฟูปะการังได้มากกว่า 10,000 ตัวภายใน 3 ปี นอกจากนี้ เดลต้าได้ช่วยสนับสนุนและออกแบบโซลูชั่นพลังงานทดแทนเพื่อช่วยให้ศูนย์อนุรักษ์ปะการังเฉาจิ้งกลายเป็นศูนย์อนุรักษ์ปะการังแห่งแรกในเอเชียที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์

ร่วมพัฒนา AirPlus2 นวัตกรรมถ่ายเทอากาศ

เดลต้าประเทศไทย ร่วมมือกับบริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ในการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร AirPlus2 (AirPlus Square) เพื่อใช้ในการถ่ายเทอากาศ และเติมอากาศใหม่ที่ผ่านการกรองฝุ่น PM 2.5 ให้กับบ้าน โดยนวัตกรรม AirPlus2 ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีพัดลมมอเตอร์ DC ชั้นนำของเดลต้าที่ประหยัดพลังงาน มีประสิทธิภาพสูง และมีความเงียบ โดยโซลูชั่นนี้ประกอบด้วยระบบเติมอากาศใหม่ของเดลต้าที่มาพร้อมกับพัดลมเติมอากาศประสิทธิภาพสูง และพัดลมระบายอากาศที่ให้ประสิทธิภาพการไหลเวียนของอากาศที่ดีเยี่ยม และสามารถกรองฝุ่น PM2.5 ได้มากถึงร้อยละ 99.6 ด้วยแผ่นกรองอากาศ HEPA คุณภาพสูง

ความร่วมมือด้านการวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย

เดลต้าประเทศไทยเป็นเจ้าภาพต้อนรับคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทยเข้าร่วมการประชุม Delta Power Electronics Committee ครั้งที่ 1 ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานใหญ่เดลต้า เพื่อทำงานร่วมกันระหว่างเดลต้าและมหาวิทยาลัยพันธมิตรในการพัฒนาการฝึกอบรมด้านอิเล็กทรอนิกส์พาวเวอร์ในท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนาเพื่อสนับสนุนเป้าหมายประเทศไทย 4.0 เพื่อก้าวเป็นประเทศศูนย์กลางฮับ EV

เดลต้าประเทศไทยเปิดตัวห้องปฏิบัติการ Power Electronics Lab แห่งที่สอง ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาอิเล็กทรอนิกส์ ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) หลังจากเปิดห้องปฏิบัติการเดลต้าแห่งแรกที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และยังเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

โดยห้องปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมรุ่นเยาว์ของไทยด้วยอุปกรณ์เครื่องมือในการทดสอบระดับโลกเพื่อพัฒนาทักษะขั้นสูงและส่งเสริมการวิจัยในประเทศสำหรับอุปกรณ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์พาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของเดลต้า

เดลต้าฯ ไม่หยุดที่จะให้บริการนวัตกรรมชั้นนำแก่ลูกค้า ตามมาตรฐานอุตสาหกรรมระดับโลก และเป้าหมาย RE100 ในการผลิตพลังงานทดแทนร้อยละ 100 จากการดำเนินงานทั่วโลกภายในปี 2573 ความมุ่งมั่นนี้จะช่วยให้บริษัทฯบรรลุพันธกิจของบริษัท: Smarter. Greener. Together.