ข่าวสารและกิจกรรม
ข่าวความรับผิดชอบต่อสังคม

เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ ประเทศไทย เปิดตัวห้องแลปพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมบุกเบิกพัฒนาทักษะเยาวชนเพื่อความยั่งยืน

กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 13 กันยายน 2567 – บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประกาศความสำเร็จในการเปิดห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยพิธีเปิดดังกล่าวจัดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญและยังสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องของเดลต้าในการส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนและความสำคัญในด้านนวัตกรรม ผ่านการพัฒนาบุคลากรที่มีทักษะ สอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่เข้ามามีบทบาทสนับสนุนในโครงการอีกด้วย

ห้องแลปพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ของเดลต้า ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางสำคัญในด้านกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ ที่มุ่งเน้นในการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีในอนาคตของประเทศไทย โดยโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการพัฒนาของหน่วยงานรัฐบาลที่สำคัญ ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม, สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน, และสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

Delta Government and Public Affairs

นายยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ของเดลต้า ประเทศไทย กล่าว เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เปิดตัวห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการนี้เป็นส่วนสำคัญของภารกิจของเราในการเสริมสร้างศักยภาพให้กับนวัตกรรุ่นใหม่ในประเทศไทย เพื่อให้พวกเขามีเครื่องมือและการฝึกอบรมที่จำเป็นเพื่อนำไปต่อยอดสู่ความสำเร็จในโลกปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

ห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ถือว่าเป็นห้องปฏิบัติการแห่งที่สามในโครงการ ซึ่งใน ปี2565 เดลต้าได้เปิดตัวห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ แห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และในปีถัดมา ห้องปฏิบัติการแห่งที่สองได้ถูกก่อตั้งขึ้นที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ติดตั้งเทคโนโลยีและเครื่องมือที่ทันสมัยโดยการสนับสนุนจากเดลต้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ของไทยสามารถเข้าถึงห้องปฏิบัติการระดับสากล เพื่อพัฒนาพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์และฝึกฝนทักษะที่จำเป็นสำหรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในประเทศไทยต่อไป

โดยเครื่องมือภายในห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านการใช้งานจริง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะมุ่งเน้นไปที่เมกะเทรนด์ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ซึ่งเทรนด์ดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมเฉพาะตัวรถเท่านั้น แต่ยังรวมถึงส่วนประกอบต่างๆ ด้วย ดังนั้น ความรู้เกี่ยวกับการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เป็นความรู้และทักษะที่จำเป็นอย่างมาก โดยอุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้นักศึกษาพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสำคัญเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้ง

Power E Lab

เดลต้าได้สร้างการเติบโตอย่างหมุนเวียน (Circular growth model) เชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมเข้าด้วยกัน ผ่านความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งเจ็ดแห่ง ตอกย้ำความมุ่งมั่นของเดลต้าที่ไม่เพียงแค่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอย่างยั่งยืน แต่ยังสนับสนุนการหมุนเวียนของบุคลากรที่จำเป็นเพื่อเอื้อหนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีของประเทศไทยอีกด้วย

Asst.Prof.Tanin Kongsila

ผศ. ดร.ธานินทร์ คงศิลา, รองอธิการบดีฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และยุทธศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมในนามของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอขอบคุณ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) สำหรับความร่วมมือในการจัดตั้งห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการร่วมกันผลักดันการพัฒนาการศึกษาในประเทศไทยให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม พวกเรามั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่าความริเริ่มนี้จะส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม เพิ่มโอกาสทางการเรียนรู้ และมีส่วนสำคัญในการพัฒนานักศึกษาและอุตสาหกรรมในวงกว้าง และขอบคุณอีกครั้งสำหรับการสนับสนุนที่แน่วแน่และการทุ่มเทเพื่อความเติบโตของการศึกษาและอุตสาหกรรมในประเทศไทย

ห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นแห่งแรกในแผนการดำเนินงานกำหนดการเปิดห้องปฏิบัติการประจำปี 2567 โดยบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จะเปิดห้องปฏิบัติการพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์แห่งใหม่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการขยายความมุ่งมั่นของบริษัทฯในการร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น


18 ก.ย. 2567