ข่าวสารและกิจกรรม
Blog & eBook

กองทุนนางฟ้าจากเดลต้าสนับสนุนวิสัยทัศน์ของผู้ประกอบการไทยรักษ์โลกในการชุบชีวิตขยะและสร้างมูลค่าได้อย่างไร

Delta Angel Fund

บทสัมภาษณ์คุณ มาย การุณงามพรรณ CEO ของ UPCYDE ผู้ชนะกองทุนนางฟ้าเดลต้า

กองทุน Delta Angel Fund เปิดตัวในปี 2559 โดยความร่วมมือระหว่างเดลต้าและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIP) กระทรวงอุตสาหกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้มีความสามารถในท้องถิ่นและส่งเสริมสตาร์ทอัพในภาคอุตสาหกรรมนวัตกรรมเพื่อขับเคลื่อนนโยบายการพัฒนาของรัฐบาลไทย

ในปี 2565 เดลต้าได้มอบเงินทุนกว่า 23 ล้านบาทให้กับทีมที่ชนะ 309 ทีม (ซึ่ง 24% ของทีมที่ชนะมีเจ้าของเป็นผู้หญิง) เพื่อสนับสนุนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอัจฉริยะและพลังงานในตลาดประเทศไทย ซึ่งสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 970 ล้านบาท และสร้างงานกว่า 927 ตำแหน่ง

การแข่งขันในปีนี้มุ่งเน้นไปที่โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economic: BCG) ของรัฐบาล ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำด้วยเศรษฐกิจสีเขียวแนวใหม่เพื่อความยั่งยืน หนึ่งในโมเดลธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนี้คือ UPCYDE ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในปี 2565 ซึ่งได้พัฒนากระบวนการแปรรูปเพื่อเปลี่ยนอาหารและของเสียจากการเกษตรให้เป็นวัสดุเครื่องหนัง ด้วยโมเดลห่วงโซ่อุปทานเศรษฐกิจหมุนเวียน

วันนี้เราได้พูดคุยกับ มาย การุณงามพรรณ ผู้ประกอบการรักษ์โลก CEO ของ UPCYDE ซึ่งจะมาแบ่งปันเป้าหมายของเธอในการขับเคลื่อนความยั่งยืนทั้งอุตสาหกรรมแฟชั่นและการเกษตรด้วยการชุบชีวิตและสร้างสรรค์สิ่งเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า

ช่วยเล่าเกี่ยวกับโซลูชั่นและบริษัท UPCYDE ของคุณได้หรือไม่?

Upcycle Waste

UPCYDE เป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs), ESG (สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล) เศรษฐกิจหมุนเวียน และความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนี้ คุณค่าของเรารวมถึงความยั่งยืนและการเพิ่มมูลค่าจากของเสียอีกด้วย

เรารักษาการควบคุมห่วงโซ่อุปทานต้นน้ำและปลายน้ำโดยใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด จากนั้น เราได้ใช้โซลูชั่นเทคโนโลยีชีวภาพดั้งเดิมของเราเพื่อเปลี่ยนของเสียจากการเกษตรและผลไม้ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง

ลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของทุกคนทางอ้อมได้โดยการลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียว ลดการปล่อย CO2 และลดของเสียที่เข้าสู่ระบบนิเวศของเรา

คุณได้รับแนวคิดในการนำขยะชีวภาพกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไร และเหตุใดคุณจึงตัดสินใจเริ่มต้นธุรกิจในภาคเทคโนโลยีชีวภาพ?

เราเห็นว่าผู้คนในสังคมได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในหลายรูปแบบ ในความเป็นจริงแล้ว ประเด็นนี้ครอบคลุมหลายด้านและส่งผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจและสังคมมากมาย เช่น สุขภาพของมนุษย์ เกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหาร น้ำประปา การขนส่ง พลังงาน และระบบนิเวศทางธรรมชาติ ซึ่งด้านเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอยู่แล้ว

นอกจากนี้ มีการคาดการณ์ว่าผลกระทบด้านลบของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศจะเพิ่มขึ้นในอนาคต และฉันต้องการหาทางออกในเรื่องนี้ ฉันจึงเริ่มศึกษาและทำความเข้าใจถึงศักยภาพของขยะชีวภาพ

ประเทศไทยผลิตสินค้าเกษตรจำนวนมากและขยะชีวภาพที่เหลือใช้ก็มีปริมาณมากเช่นเดียวกัน และฉันเชื่อว่าการอยู่ร่วมกับธรรมชาติคือทางออก ดังนั้น เทคโนโลยีที่ผสมผสานกับทรัพยากรธรรมชาติอันมีค่าของเราสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อโลกของเราได้

อะไรคือศักยภาพในการเติบโตของผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ UPCYDE ผลิตในตลาดประเทศไทย และคุณเห็นว่าโซลูชั่นของคุณส่งผลต่ออุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์ได้อย่างไร?

upcycling and innovating agricultural waste

ปัจจุบัน ธุรกิจและลูกค้าจำนวนมากในประเทศไทยกำลังมองหาวิธีแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีจริยธรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์

เพื่อแก้ปัญหาของเสียและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ UPCYDE ได้พัฒนาโซลูชั่นเทคโนโลยีชีวภาพหรือที่เราเรียกว่า “วัสดุ UPCYDE (UPCYDE materials)” ซึ่งอาจเข้ามาช่วยอุตสาหกรรมนี้ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด

นอกจากนี้ นักลงทุนยังใช้โอกาสนี้จากการสนับสนุนของรัฐบาลไทยต่อโมเดล BCG และโครงการสีเขียวอื่น ๆ นี่เป็นโอกาสที่ดีสำหรับทุกคนที่จะมีส่วนร่วมทั้งลูกค้าและนักลงทุน และดำเนินการเพื่อช่วยโลกของเรา

คุณเข้าร่วมกองทุน Delta Angel Fund ได้อย่างไร และกองทุนนี้ช่วยคุณพัฒนาโซลูชั่นและขยายธุรกิจของคุณได้อย่างไร?

ในประเทศไทยยังไม่มีโครงการที่จูงใจหรือผลักดันสตาร์ทอัพมากนัก อย่างไรก็ตาม Delta Angel Fund เป็นหนึ่งในกองทุนที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในหมู่สตาร์ทอัพและ SME ในประเทศไทย

โดยโครงการผลักดันสตาร์ทอัพนี้มอบโอกาสในการสร้างเครือข่ายที่ยอดเยี่ยมและกลยุทธ์การเติบโตของธุรกิจที่มั่นคงนอกเหนือจากการการลงทุนทางการเงิน

ตอนนี้คุณได้ทำโปรเจคน่าตื่นเต้นอะไรอยู่บ้าง และโปรเจคเหล่านั้นช่วยเหลือลูกค้าของคุณอย่างไร?

Delta Angel Funds

ขณะนี้เรากำลังทำโปรเจคที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อแก้ไขปัญหาในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทย ลูกค้าไม่ใช่คนกลุ่มเดียวที่เราสามารถช่วยได้ แต่เป็นทุกคนในสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สามารถได้รับประโยชน์มากมายจากโซลูชั่นของเรา

ตัวอย่างเช่น การซื้อสินค้าจาก SME ไทยทุกครั้งเป็นเหมือนกับการลงทุนในชุมชนท้องถิ่น เพราะเราสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชนที่มีความหลากหลายในประเทศของเราได้

อะไรคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สตาร์ทอัพไทยต้องเผชิญ และองค์กรขนาดใหญ่จะช่วยสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่ดีขึ้นได้อย่างไร?

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ใหญ่ ดังนั้น ความท้าทายคือการขาดความเชื่อมโยงระหว่างกระทรวง ภาคอุตสาหกรรม และหน่วยงานรัฐบาลและหน่วยงานท้องถิ่น ซึ่งสตาร์ทอัพต้องการองค์ประกอบเหล่านี้เพื่อช่วยในการขยายธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้น

ในทางกลับกัน บริษัทขนาดใหญ่มีประสบการณ์ คอนเนคชั่น และฐานลูกค้าที่เชื่อใจในแบรนด์ซึ่งสนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพและช่วยแสดงให้เห็นถึงการเติบโตเชิงนวัตกรรมภายในระบบนิเวศธุรกิจ

เมื่อมีสตาร์ทอัพจำนวนมากในตลาด เราก็สามารถแลกเปลี่ยน สร้างสรรค์ และสำรวจแนวคิดใหม่ ๆ เพื่อให้ระบบนิเวศสตาร์ทอัพไทยมีเสถียรภาพและขยายตัวต่อไปได้

อะไรคือคำแนะนำที่คุณอยากมอบให้กับผู้ประกอบการไทยที่ต้องการนำนวัตกรรมจากแนวคิดไปสู่ธุรกิจที่ทำกำไรและเติบโตได้?

agricultural waste

ฉันเริ่มต้นด้วยการถามตัวเองว่า “ทำไมสังคมถึงต้องการสิ่งนี้” หรือ “อะไรเป็นแรงผลักดันให้ฉันทำสิ่งนี้” หลังจากนั้น เมื่อคุณแน่ใจว่าคุณรู้คำตอบของคำถามเหล่านี้แล้ว ก็ลุยเลย!

เมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มต้นสิ่งใหม่ คุณต้องแสดงให้คนอื่นเห็นว่าโซลูชั่นของคุณให้ประโยชน์แก่พวกเขาจริง ๆ เพราะพวกเขาจะเป็นผู้จ่ายเงินให้กับคำตอบที่คุณให้ คุณต้องให้คุณค่าที่แท้จริงและไม่ใช่แค่การเสนอขายเพียงเพราะต้องการรับเงินจากพวกเขา

ก่อนที่คุณมีลูกค้ารายแรก คุณจะพบกับความยากลำบากและความล้มเหลวมากมาย และนี่คือตอนที่คำถามว่า “ทำไม” ของธุรกิจคุณคือสิ่งที่จะช่วยผลักดันและพาคุณไปสู่เป้าหมายในที่สุด

นวัตกรรมกองทุน Delta Angel Fund ช่วยสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับประเทศไทยได้อย่างไร?

นอกจากทุนที่เราได้รับแล้ว เรามีโอกาสติดต่อกับผู้ประกอบการไทยรายอื่น ๆ และแบ่งปันประสบการณ์ของเรา นี่เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการช่วยให้ธุรกิจในประเทศที่มีเป้าหมายเดียวกันสามารถทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาของประเทศไทยในปัจจุบันได้

สรุป

พร้อมที่จะเปลี่ยนเป้าหมายและแนวคิดของคุณให้เป็นธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มกับ Delta Angel Fund for Startups แล้วหรือยัง? สามารถเข้าชมเว็บไซต์ Delta Thailand ของเราและเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่เราสนับสนุนผู้ประกอบการในประเทศที่สร้างเศรษฐกิจที่นำโดยนวัตกรรมที่แข่งขันได้และยืดหยุ่นมากขึ้นในประเทศไทย

คุณยังสามารถติดตามเพจ Delta Thailand Facebook และ Delta Thailand LinkedIn เพื่อรับข้อมูลข่าวสารการสมัครเข้าร่วมกองทุน Delta Angel Fund for Startups รอบถัดไป มาสร้างประเทศไทยที่อัจฉริยะและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน!

ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ UPCYDE ได้ที่เว็บไซต์: https://www.upcyde.space


23 ม.ค. 2566