ข่าวสารและกิจกรรม
Blog & eBook

สัมผัสการทำงานร่วมกันระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์กับโครงการ Delta International Exchange

Delta Intern

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 29 กันยายน 2565 – นักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชาวไทยที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมสามารถคว้าโอกาสเข้ารับการฝึกอบรมและการฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทย จัดขึ้นได้ นอกจาก Delta Automation Academy แล้ว ผู้มีความสามารถด้านวิศวกรรมของไทยยังสามารถเข้าร่วมโครงการ Delta International Exchange ซึ่งจัดขึ้นทุกปีเพื่อฝึกอบรมให้กับนักศึกษาที่โรงงานเดลต้าในประเทศไทยหรือไต้หวันได้อีกด้วย

แม้ว่าข้อจำกัดด้านการเดินทางเนื่องจากโควิด-19 จะทำให้เราไม่สามารถเดินทางไปฝึกงานในต่างประเทศได้ แต่โครงการฝึกงานประจำปี 2565 ของเดลต้ายังสามารถให้การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมการทำงานระหว่างประเทศที่โรงงานเดลต้าประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน วันนี้เราได้พูดคุยกับนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ชาวไทยที่มีความสามารถและปฏิบัติงานได้จริงสามคน คือ ธนินท์รัฐ ถิรโพธิวัจน์, จิตชนก พรหมแดน และจินตปัญญ์ ลือชาพงศ์ทิพย์ (จากซ้ายไปขวาในรูปด้านบน) เกี่ยวกับประสบการณ์โครงการ Delta International Exchange Program ของเดลต้า ประเทศไทย

ช่วยเล่าให้เราฟังเกี่ยวกับตัวคุณสักเล็กน้อย ว่าคุณมาจากที่ไหน คุณกำลังเรียนอะไรอยู่ และทำไมคุณถึงเลือกเรียนคณะ/สาขานี้

Delta Intern

ธนินท์รัฐ: ผมมาจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย และกำลังศึกษาด้านวิศวกรรมหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) ผมต้องการศึกษาและพัฒนาตัวเองในสาขานี้เพราะผมสนใจวิทยาการหุ่นยนต์ และในยุคปัจจุบัน AI ก็มีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นในชีวิตประจำวันของเรา

จิตชนก: ฉันมาจากจังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย และกำลังศึกษาอยู่ในคณะวิศวกรรมอุตสาหการที่ KMITL วิชาเอกคือการออกแบบการผลิตและวิศวกรรมวัสดุ ฉันพักอยู่ที่หอพักของมหาวิทยาลัยและเดินกลับบ้านในช่วงสุดสัปดาห์

ฉันเลือกเรียนในสาขานี้เพราะเคยได้เรียนคอร์สที่ปลุกความสนใจในด้านนี้ ซึ่งวิชาเอกของฉันครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมายที่สามารถนำมาต่อยอดได้ในอนาคต

จินตปัญญ์: ตอนนี้ผมกำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) วิชาเอกของผมคือวิทยาการหุ่นยนต์และวิศวกรรมอัตโนมัติ ตอนที่ผมเป็นเด็ก ผมดูสารคดีเกี่ยวกับอุตสาหกรรมนี้และเล่นเกมเกี่ยวกับหุ่นยนต์เยอะมาก

ตอนที่ผมอยู่มัธยมต้น ผมเลือกเข้าเรียนที่โรงเรียนอาชีวศึกษาเพราะความชอบด้านการเขียนโปรแกรมและอิเล็กทรอนิกส์ และผมก็ค้นพบว่าสาขาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติครอบคลุมความชอบของผมทั้งหมด

คุณรู้จักโครงการ Delta International Exchange ได้อย่างไร และทำไมคุณถึงเข้าร่วมโครงการนี้

Delta Intern

ธนินท์รัฐ: ผมเห็นโครงการนี้บนหน้าเฟสบุ๊ค Delta Electronics Thailand และตัดสินใจเข้าร่วมโครงการเพราะผมอยากเรียนรู้ผ่านการทำงานและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรที่มีพนักงานหลากหลายภาษาและเชื้อชาติที่เดลต้า อีเลคโทรนิคส์

จิตชนก: ฉันเห็นโฆษณาของโครงการนี้บนหน้าเฟสบุ๊คของภาควิชาของฉัน หลังจากอ่านรายละเอียดโครงการแล้ว ฉันคิดว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่น่าสนใจมากเพราะจะช่วยพัฒนาความสามารถทั้งทักษะการเข้าสังคม (Soft Skills) และทักษะการทำงาน (Hard Skills) ของฉันได้

ฉันสมัครเข้าร่วมโครงการนี้ผ่านทางออนไลน์และติดต่อฝ่ายบุคคลของเดลต้าเพื่อขอรายละเอียดเพิ่มเติม หลังจากผ่านไปสองสัปดาห์ ฉันได้สัมภาษณ์ผ่านทางออนไลน์กับผู้จัดการฝ่ายวิศวกรรมของเดลต้าโรง1 จากนั้นฉันก็ได้รับเลือกในการเข้าร่วมโครงการนี้

จินตปัญญ์: ผมรู้จักโครงการนี้จากอาจารย์ที่สอน Programmable Logic Controller (PLC) ซึ่งได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมในระบบอุตสาหกรรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ จากเดลต้า เขาแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ Delta International Exchange ให้กับผม

คุณจะต้องฝึกงานที่เดลต้านานแค่ไหน?

ทุกคน: พวกเราฝึกงานที่เดลต้าเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2565 ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 ในช่วงสองเดือนแรก เราเริ่มฝึกงานโดยมีหน้าที่ในการสนับสนุนช่วยเหลือทีมของพวกเรา จากนั้นพวกเราใช้เวลาสองเดือนที่เหลือในฝึกเฉพาะทางและรับผิดชอบโปรเจคจริง ๆ ในช่วงสองเดือนหลังนี้

หน้าที่หลักของคุณในฐานะนักศึกษาฝึกงานที่เดลต้าประเทศไทยคืออะไร และส่วนใดของงานที่มีความน่าสนใจมากที่สุด

Delta Intern

ธนินท์รัฐ: ผมฝึกงานในแผนกวิศวกรรมระบบอัตโนมัติ (AE) ที่เดลต้าโรง3 ซึ่งผมมีความสนใจในการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรสำหรับระบบอัตโนมัติและการออกแบบวงจรเป็นอย่างมาก

จิตชนก: ตอนนี้ ฉันกำลังฝึกงานอยู่ที่เดลต้าโรง 1 ในตำแหน่งวิศวกรอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ฉันรับผิดชอบในการจับเวลาบนไลน์การประกอบอุปกรณ์ชาร์จออนบอร์ด โดยในการทำงาน ฉันใช้นาฬิกาจับเวลาเพื่อวัดรอบเวลาระหว่างเวิร์กสเตชันทั้ง 11 สาย นอกจากนี้ ฉันยังอัปเดตคำแนะนำการใช้งาน (OI) ทางออนไลน์อีกด้วย

การทำงานในสถานการณ์จริงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่สุดสำหรับงานของฉัน การสื่อสารและการประสานงานกับผู้อื่นก็เป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ในที่ทำงาน ฉันได้สื่อสารกับผู้จัดการและวิศวกรทั้งเก้าคนในทีมของฉัน ในสายการผลิต ฉันได้พูดคุยกับพนักงานฝ่ายผลิตและเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการที่พวกเขาปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ฉันสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ OI ได้ดียิ่งขึ้น

จินตปัญญ์: ตอนนี้ ผมฝึกงานในด้าน R&D และ AMBU Engineering ที่เดลต้าโรง5 ส่วนที่น่าสนใจที่สุดในงานของผมคือการเขียนโปรแกรม PLC และการออกแบบเครื่องจักรเพื่อรองรับการผลิตภายในโรงงาน โดยในการทำงาน ผมต้องรู้ว่าควรจะระวังในเรื่องใดบ้างและต้องดำเนินการขั้นตอนใดในกระบวนการผลิตทั้งหมด

คุณคิดว่าทักษะที่มีค่าที่สุดที่คุณได้รับจากการฝึกงานที่เดลต้า ประเทศไทย คืออะไร และทักษะนี้จะช่วยการทำงานในอนาคตของคุณอย่างไรบ้าง

ธนินท์รัฐ: ผมคิดว่าคงเป็นทักษะในการทำงานกับคนมีอายุต่างกันและการบริหารเวลาหรือการวางแผน

จิตชนก: ทักษะที่มีค่าที่สุดอย่างหนึ่งที่ฉันได้เรียนรู้คือการสื่อสารกับคนในวัยที่ต่างกับเรา อย่างในทีม หัวหน้างานของฉันอายุ 40 ปี และทีมงานของเรามีพนักงาน 9 คน ที่มีอายุต่างกัน และห้าคนเป็นผู้หญิง

ประสบการณ์นี้จึงช่วยให้ฉันพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการทำงานในอนาคต หรือแม้แต่ในการสื่อสารที่ดีกับผู้อื่นในสังคมที่มีความแตกต่าง

จินตปัญญ์: ผมคิดว่าคงเป็นทักษะในการสื่อสารที่จำเป็นในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรที่หลากหลาย งานของเราต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เนื่องจากเครื่องจักรที่แผนกของผมประกอบขึ้นจะถูกนำมาใช้เพื่อพัฒนาการผลิตในโรงงานของเรา นั่นหมายความว่าเราไม่สามารถปล่อยให้มีข้อผิดพลาดใด ๆ ในกระบวนการทำงานทั้งหมดของเราได้

หัวหน้างานของคุณสนับสนุนการฝึกงานของคุณอย่างไร และคุณเรียนรู้อะไรจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น

Delta Intern

ธนินท์รัฐ: หัวหน้างานของผมช่วยสอนขั้นตอนการทำงานของทีมและโรงงานอื่น ๆ ผมมีโอกาสทำงานนอกเหนือจากงานหลักที่รับผิดชอบ และผมได้เรียนรู้วิธีการทำงานเป็นทีมและวางแผนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับแผนกอื่น ๆ

จิตชนก: หัวหน้างานช่วยให้ฉันเรียนรู้โดยการมอบหมายงานให้ทำเพื่อให้ได้รับประสบการณ์และทักษะขณะทำงานร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในงานของฉัน ฉันได้รับหน้าที่รับผิดชอบในการทำงานให้เสร็จสิ้นและหาวิธีของตัวเองที่จะไปถึงเป้าหมายในภารกิจงานของเรา หัวหน้างานของฉันยังติดตามผลและฉันเองก็สามารถถามเขาได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้สอนให้ฉันฟังความคิดเห็นของผู้อื่นพร้อมกับมีความกล้าที่จะแสดงความคิดของตัวเองด้วย ฉันได้รับการฝึกแบบตัวต่อตัวและสามารถปรึกษาเพื่อนร่วมทีมได้ตลอดเวลา บางครั้งฉันเข้าร่วมการประชุมประจำวันที่สายการผลิตเพื่อสังเกตการปฏิบัติงานในแต่ละวัน

จินตปัญญ์: หัวหน้างานของผมช่วยเหลือผมอย่างมากในการวางแผนกระบวนการโปรเจคของเรา และเพื่อนร่วมงานของผมก็ช่วยสอนบางเรื่องที่ไม่มีในชั้นเรียนในมหาวิทยาลัยให้กับผมด้วย เช่น เทคนิคในการประกอบ ข้อควรระวังในการปฏิบัติงานต่าง ๆ และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยภายในโรงงาน

คุณอยากจะแนะนำให้กับนักศึกษาคนอื่น ๆ ในการเตรียมตัวสำหรับการฝึกงานและทำงานในโรงงานอย่างไร

ธนินท์รัฐ: ผมอยากแนะนำให้ลองศึกษาดูก่อนว่าอยากทำงานประเภทไหน และวิธีการเตรียมความพร้อมเพื่อใช้ภาษาอังกฤษในการสนทนา รายงาน และนำเสนอในทุก ๆ วัน

จิตชนก: ก่อนเริ่มฝึกงาน ขอแนะนำให้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการทำงานภายใต้สภาวะกดดัน นอกจากนี้ ให้ทบทวนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการทำงานในสาขาของคุณ การเรียนรู้จากงานเป็นการศึกษาการดำเนินงานและเวลาดำเนินการตามดัชนีประสิทธิภาพหลัก นี่เป็นส่วนพื้นฐานของงานการผลิตและวิศวกรรมที่เน้นการสังเกตขั้นตอนและเวลาโดยสังเกตจากประสบการณ์ นอกจากนี้ คุณยังต้องปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านความปลอดภัยและฝึกฝนทักษะทางไฟฟ้าขั้นพื้นฐานด้วย

จินตปัญญ์: เดลต้าเป็นบริษัทอุตสาหกรรมการผลิต หากคุณมีความรู้ในด้านนี้ การทำงานกับทีมของคุณจะง่ายขึ้น คุณจะเข้าใจงานของคุณดีขึ้น เช่น การเขียนโปรแกรม งานไฟฟ้าขั้นพื้นฐาน กระบวนการทางเครื่องกล และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านการปฏิบัติงานทางอุตสาหกรรม

คุณคิดว่าจุดเด่นของเดลต้า ประเทศไทยคืออะไร

Delta Intern

ธนินท์รัฐ: รู้สึกว่าเป็นบริษัทที่ใส่ใจเรื่องพลังงานสะอาดมาก นี่คือสิ่งที่ผมรู้สึกพิเศษมากที่สุดเกี่ยวกับเดลต้า ประเทศไทย

จิตชนก: การทำงานที่นี่สอนให้มาถึงที่ทำงานแต่เช้าตรู่เวลา 7:00 น. และเริ่มทำงานตรงเวลาที่ 7:40 น. โดยทุกคนทำงานอย่างกระตือรือร้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าของเราอย่างทันท่วงที

โรงงานของเดลต้ายังใช้พลังงานหมุนเวียนซึ่งฉันคิดว่าเป็นความคิดที่ดีในการช่วยโลกและช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัท และสภาพแวดล้อมในการทำงานก็เป็นสีเขียวซึ่งดีมาก ๆ

จินตปัญญ์: เดลต้า ประเทศไทย เป็นบริษัทที่ใช้พลังงานสะอาดจากสิ่งแวดล้อมและมีอาคารสีเขียว ซึ่งทำให้สำนักงานใหญ่ได้รับรางวัล LEED Gold ในปี 2560

อะไรคือปัจจัยสำคัญที่สุดสำหรับคุณในการเลือกบริษัทที่จะทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษา

ธนินท์รัฐ: ผมคิดว่าคงเป็นสภาพแวดล้อมการทำงานควบคู่ไปกับสวัสดิการและเงินเดือนของบริษัท ซึ่งรวมถึงระยะทางจากบ้านถึงบริษัทและวิธีการเดินทางด้วย

จิตชนก: ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการเลือกสถานที่ทำงานหลังเรียนจบคือสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสะอาด พนักงานทำงานร่วมกันได้ดีมีน้ำใจไม่กดดันกัน และแบ่งปันความคิดกันอย่างตรงไปตรงมา แน่นอน เงินเดือนก็สำคัญ

จินตปัญญ์: ปัจจัยที่สำคัญที่สุดสำหรับผมคือเงินเดือน สวัสดิการ หน้าที่ และความก้าวหน้าในอาชีพ

คุณช่วยแบ่งปันแผนการในอนาคตของคุณได้ไหม และคุณมีแนวคิดที่จะทำให้การฝึกงานดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร

Delta Intern

ธนินท์รัฐ: ผมตั้งใจที่จะทำงานที่นี่ก่อนเพื่อเอาประสบการณ์ และหลังจากนั้นผมวางแผนที่จะเรียนต่อปริญญาโท

จิตชนก: เพื่อเพิ่มประสบการณ์จากการฝึกงาน เราควรยอมรับความแตกต่างระหว่างวัย รับฟังความคิดเห็นอื่น ๆ และอย่าตัดสินใจด้วยอารมณ์

เมื่อมีข้อสงสัยหรือมีคำถาม ให้ถามทันทีเพื่อให้เข้าใจการงานมากขึ้น ฉันต้องการเรียนต่อต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ในยุโรป และหากเป็นไปไม่ได้ ฉันวางแผนที่จะทำงานที่เดลต้าเพื่อเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติม

จินตปัญญ์: ผมอยากเรียนรู้เกี่ยวกับงานและแผนกที่เกี่ยวข้องให้ลึกซึ้งกว่านี้ เพื่อที่จะได้เข้าใจกระบวนการทำงานโดยรวม ซึ่งผมอาจจะค้นพบว่าความชอบหรือความสามารถของตัวเองอาจเหมาะกับงานอื่น ๆ มากกว่าก็ได้

สัมผัสการทำงานร่วมกับมนุษย์และหุ่นยนต์ที่เดลต้า
หากคุณเป็นนักศึกษาวิศวกรรมระบบอัตโนมัติที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมความรู้ด้านระบบอัตโนมัติในกระบวนการผลิตไปพร้อม ๆ กับเรียนรู้วิธีทำงานเป็นทีม สามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดของโครงการ Delta International Intern Exchange ได้ทางเพจ Delta Thailand Careers หรือติดต่อ HR ของเราได้ตั้งแต่วันนี้


28 พ.ย. 2565