ข่าวสารและกิจกรรม
ข่าวความรับผิดชอบต่อสังคม

เดลต้า ประเทศไทย ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาผู้มีความสามารถและการปรับตัวอนาคตอุตสาหกรรมไทย ในงานประชุมของกนอ.

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 22 พฤษภาคม 2566- บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ได้รับเชิญจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยให้เข้าร่วมผู้นำอุตสาหกรรมในการอภิปรายเกี่ยวกับอนาคตของอุตสาหกรรมไทย ในงาน I-EA-T Elevation จัดขึ้นที่โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ รางน้ำ กรุงเทพฯ โดยมีวิทยากรจากนิคมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมพลังงาน และอุตสาหกรรมการผลิตมาร่วมแบ่งปันแนวคิดในการพัฒนาภาคการผลิตของประเทศ

เสวนาหัวข้อแรก “พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยสู่สากลอย่างยั่งยืน” โดยมีคุณวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ. อมตะ คอร์ปอเรชัน, คุณจรีพร จารุกรสกุล รองประธานคณะกรรมการและประธานคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่ม บมจ. ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น, ดร. ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. บี.กริม เพาเวอร์ และ รศ.ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

และการเสวนาหัวข้อที่ 2 ในหัวข้อ “อุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต” โดยได้รับเกียรติจาก คุณอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. พลังงานบริสุทธิ์, คุณยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกรัฐกิจสัมพันธ์ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) และคุณบรรลือ ชื่นจิตกุลถาวร กรรมการ บจก. มูราตะ อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย)

Future of Thai Industry

ในการพูดอภิปรายนี้ นายยงยุทธ์ พักดวงจันทร์ ได้แนะนำเกี่ยวกับเดลต้า ประเทศไทยและการขยายการลงทุนในการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าที่โรงงานแห่งใหม่เดลต้า 8 และศูนย์ R&D “การพัฒนาผู้มีความสามารถเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ปัญหาที่สำคัญต่ออนาคตของอุตสาหกรรมไทย และนี่คือเหตุผลที่เราทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ 7 แห่งเพื่อขับเคลื่อน Delta Automation Academy และเพิ่มกลุ่มผู้มีความสามารถในท้องถิ่น ในช่วงแรกของโครงการนี้ เรามุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ โดยการสนับสนุนห้องแล็บระบบอัตโนมัติของเดลต้าให้กับมหาวิทยาลัยและอาจารย์ฝึกอบรม นอกจากนี้ เดลต้าฯ เปิดตัว เดลต้าแคมป์ และสนับสนุนทีมไทยในการแข่งขัน Delta Cup ระดับนานาชาติ”

“เฟสต่อไปของเรา จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการผลิตชิ้นส่วน EV เดลต้าได้สนับสนุนห้องแล็บพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์แก่มหาวิทยาลัยพันธมิตร เช่นเดียวกับ ห้องแล็ปออโตเมชั่น เพื่อพัฒนาผู้ประกอบการไทยและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ภาคเอกชนได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาและการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญ รัฐบาลต้องปรับปรุงกฎระเบียบให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับพื้นที่การลงทุนเป้าหมาย และทำงานอย่างใกล้ชิดกับภาคเอกชนและมหาวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบด้านพลังงานสีเขียวในห่วงโซ่อุปทาน” นายยงยุทธ กล่าวเพิ่มเติม

ในปี พ.ศ. 2565 เดลต้าได้เปิดห้องแล็ปพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ แก่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือแห่งแรก ซึ่งโครงการ Delta Automation Academy ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยชั้นนำ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในพระนครเหนือและธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล และมหาวิทยาลัยบูรพา

ในฐานะพลเมืององค์กรระดับโลก เดลต้าทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในประเทศไทยเพื่อพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถด้านระบบอัตโนมัติและวิศวกรรมไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาประเทศไทย 4.0 สำหรับผู้มีความสามารถพิเศษในอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นักศึกษาวิศวกรรมไทยประมาณ 3,000 คนและอาจารย์กว่า 30 คนได้ฝึกอบรมที่ Delta Automation Academy ผู้มีความสามารถในท้องถิ่นระดับแถวหน้าชนะรางวัลจากการแข่งขัน Delta Advanced Automation นานาชาติที่จัดขึ้นในต่างประเทศ

Delta at I-EA-T Elevation


25 พ.ค. 2566