ประเทศไทยมักถูกเรียกว่า “ดีทรอยต์แห่งเอเชีย” เนื่องจากเป็นประเทศผู้ผลิตยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมีตลาดภายในประเทศขนาดใหญ่ที่เข้าใจเทรนด์ ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่กระแสความนิยมรถยนต์ไฟฟ้ากำลังเป็นที่น่าสนใจประเทศนี้อย่างถล่มทลาย ตามรายงานของ Counterpoint ในเดือนกรกฎาคม ประเทศไทยมีสัดส่วนยอดขายรถยนต์ไฟฟ้ามากกว่า 75% ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2566 โดยรวมแล้ว ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้งานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เติบโตขึ้นเกือบ 10 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากรายงานของ Counterpoint หัวข้อ SEA Passenger Electric Vehicle Model Sales Tracker
The Nation รายงานว่า ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2566 ในประเทศไทยมีการจดทะเบียนรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) จำนวน 43,045 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 487.65% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่รถยนต์ไฟฟ้าไฮบริด (HEV) เพิ่มขึ้น 41.02% ซึ่งคิดเป็นจำนวน 46,140 คัน และรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊ก-อิน ไฮบริด (PHEV) เพิ่มขึ้นเพียง 5.46% คิดเป็น 6,272 คัน
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้รถยนต์ไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้นคือนโยบายจูงใจจากภาครัฐ โดยมาตราการ EV 3.0 ในปัจจุบันได้เสนอเงินอุดหนุนสูงถึง 150,000 บาทต่อรถยนต์ไฟฟ้าหนึ่งคัน เนื่องจากนโยบายดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายรถยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ จึงมีการเรียกร้องรัฐบาลผ่านมาตราการ EV 3.5 ซึ่งเป็นการเสนอเงินอุดหนุนประมาณ 100,000 บาท สำหรับรถยนต์ไฟฟ้านำเข้าและกำหนดให้ผู้ผลิตรถยนต์ตั้งโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในอัตราส่วน 2-3 เท่าของจำนวนการนำเข้าทั้งหมด
เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ออกสู่ท้องถนนของประเทศไทยในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน เราจึงต้องมีการเพิ่มการติดตั้งสถานีชาร์จสาธารณะ นอกเหนือจากเครื่องชาร์จรถไฟฟ้าภายในบ้าน แน่นอนว่าเป็นความท้าทายสำหรับเดลต้า แต่โชคดีที่เราได้รับความช่วยเหลือบางส่วนจากพาร์ทเนอร์ของเรา กว่าห้าปีที่ผ่านมา เราได้เริ่มทำงานร่วมกับสถาบันยานยนต์เพื่อตรวจสอบเครื่องชาร์จของเราตามมาตรฐานทางเทคนิคของประเทศไทย เดลต้ายังได้ร่วมมือกับแบรนด์ยานยนต์เพื่อให้บริการสถานีชาร์จที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดประเทศไทย โดยปัจจุบัน เราได้ให้บริการเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้ากับผู้ให้บริการจุดชาร์จ (Charge Point Operator: CPO) ชั้นนำทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของรถยนต์ไฟฟ้าและเครื่องชาร์จทำให้เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อโครงข่ายไฟฟ้าของเราได้อีกต่อไป เนื่องจากการผลิตโรงไฟฟ้าและการจำหน่ายไฟฟ้าแบบโครงข่ายของเราไม่เคยได้รับการออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การแก้ไขโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศต้องใช้เวลาและทุนอย่างมหาศาล แต่ตอนนี้รถยนต์ไฟฟ้าได้วิ่งอยู่บนท้องถนนแล้ว วันนี้ เราจะมาดูกันว่าโซลูชั่นโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานแบบครบวงจรของเดลต้าสามารถรองรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยได้อย่างไร
1. สถานีชาร์จ EV ที่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
2. การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์หมุนเวียน
3. การรักษาความปลอดภัยแบบเต็มรูปแบบด้วยการกักเก็บและการจัดการพลังงาน
1. สถานีชาร์จ EV ที่ให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต
ในบทความเกี่ยวกับเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าก่อนหน้านี้ เราได้นำเสนอเครื่องชาร์จทั้งแบบ AC และ DC และอธิบายความแตกต่างในแง่ของกำลังไฟฟ้า ความเร็วในการชาร์จ และสถานที่ในการติดตั้ง ผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยสามารถใช้แอป Delta AC MAX ได้แล้ว (ดาวน์โหลดได้ที่ Apple App Store และ Google Play) ด้วยการแตะเพียงครั้งเดียวเพื่อชาร์จ และสามารถปรับการตั้งค่าการชาร์จของตนเองได้ ในขณะเดียวกัน ผู้ใช้งานยังสามารถใช้แอปพลิเคชั่นนี้เพื่อกำหนดค่าสำหรับการใช้งานได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังได้รับการอัปเดตเฟิร์มแวร์และผลการวิเคราะห์แบบ over-the-air เพื่อการบำรุงรักษาอีกด้วย
ในประเทศไทย คุณสามารถใช้เครื่องชาร์จ DC แบบเร็วได้ที่สถานีชาร์จสาธารณะของตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ อาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า และสถานีบริการน้ำมัน เครื่องชาร์จ Ultra Fast Charger (UFC) 200kW ของเดลต้าเป็นตัวเลือกอันดับต้น ๆ สำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายสถานีชาร์จที่มีชื่อเสียงและมองการณ์ไกล ที่กำลังมองหาเครื่องชาร์จเกรดพรีเมียมที่มีการออกแบบการปรับขนาดได้ตามความต้องการและมีความน่าเชื่อถือที่ไม่มีใครเทียบได้ของซอฟต์แวร์การจัดการ เครื่องชาร์จ UFC ของเดลต้าผลิตในยุโรปและได้รับมาตรฐานยุโรป มีแพลตฟอร์มโมดูลาร์ 200kW ที่สามารถเพิ่มความจุแบตเตอรี่หากมีความต้องการเพิ่มเติมในอนาคต
2. การใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์หมุนเวียน
เครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักที่เพิ่มจำนวนการใช้พลังงานให้กับอาคารหรือลานจอดรถเป็นอย่างมาก ซึ่งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารและหลังคาลานจอดรถช่วยให้พลังงานเพิ่มเติมนอกเหนือจากพลังงานไฟฟ้าจากโครงข่ายได้
ในประเทศไทย เดลต้าได้นำเสนออินเวอร์เตอร์ M100A_280 และ M50A_260 3 เฟส สำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นอินเวอร์เตอร์ขนาด 100kW และ 50kW ที่มีการออกแบบตัวเครื่องแบบเดียวกัน ซึ่งให้ประสิทธิภาพสูงสุด 98.7%, 98.4% และมากกว่า 98.3% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับการแปลงพลังงานของแผงโซลาร์เซลล์
3. การรักษาความปลอดภัยแบบเต็มรูปแบบด้วยการกักเก็บและการจัดการพลังงาน
เดลต้าเข้าใกล้ความท้าทายในการสนับสนุนการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าด้วยการออกแบบสถานีชาร์จที่มีพลังงานจากโครงข่ายและพลังงานแสงอาทิตย์ การกักเก็บพลังงาน และการจัดการพลังงานด้วยไมโครกริดอัจฉริยะ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานหรือผู้ให้บริการสถานีชาร์จมั่นใจได้ว่าสถานีชาร์จของเดลต้ามีความน่าเชื่อถือ มีความยืดหยุ่นสามารถรองรับได้หลายรูปแบบ สามารถปรับขนาดการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว เพื่อค่าใช้จ่าย (CAPEX) และการดำเนินการอย่างเหมาะสมที่สุด
เนื่องจากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น ผู้ให้บริการสถานีชาร์จจึงต้องดำเนินการอย่างรวดเร็วเพื่อคว้าโอกาสทางธุรกิจและขยายเครือข่ายสถานีชาร์จของเรา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม Skid Solution จึงเป็นโซลูชั่นการจัดเก็บพลังงานแบบครบวงจรที่ประกอบไว้ล่วงหน้าและผ่านการทดสอบแล้วเพื่อการติดตั้งที่รวดเร็ว
ความสำเร็จที่สำนักงานใหญ่เดลต้า ยุโรป
ตัวอย่างความสำเร็จที่สำนักงานใหญ่ของเดลต้า ยุโรป ในประเทศเนเธอร์แลนด์ อาคารนี้มีอายุมากกว่า 35 ปี ก่อนที่จะมีการติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า และมีการกำหนดค่าพลังงานอย่างจำกัด โดยเดลต้าได้ติดตั้งเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้ากว่า 16 เครื่องในลานจอดรถของอาคาร ซึ่งใช้ประโยชน์จากระบบกักเก็บพลังงานไฟฟ้าและพลังงานแสงอาทิตย์บนชั้นดาดฟ้า นับตั้งแต่เปิดใช้งานยังไม่มีเหตุการณ์ที่ไฟฟ้าเกินพิกัด นอกจากนี้ต้นทุนด้านพลังงานรวมของอาคารลดลง 15.64% อีกด้วย
กุญแจสู่ความสำเร็จนี้อยู่ที่การใช้งานของระบบ DeltaGrid® EVM ซึ่งเป็นระบบจัดการการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์และ AI ในการใช้พลังงานเพื่อรวมการชาร์จอัจฉริยะเข้าด้วยกัน เป็นหนึ่งในระบบการจัดการการชาร์จไม่กี่ระบบในตลาดที่มีการรวมเครื่องชาร์จ, ระบบพลังงานแสงอาทิตย์, ระบบการกักเก็บพลังงาน และการจัดการโหลดไว้ในแพลตฟอร์มเดียว
ในโปรเจคนี้ ทีมงานเดลต้าได้วิเคราะห์กราฟของการใช้ไฟฟ้าในอดีต และคาดการณ์ความต้องการในการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ก่อนที่จะดำเนินการต่าง ๆ ในขั้นแรก พวกเขาติดตั้งเครื่องชาร์จ AC และ DC กว่า16 เครื่อง ซึ่งสามารถชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 24 คันได้พร้อมกัน เพื่อเป็นการรับมือกับความต้องการไฟฟ้าตามที่คาดการณ์ไว้ เดลต้ายุโรปจึงได้มีการจัดตั้งระบบโซลาเซลล์บนหลังคาขนาด 50kW เพื่อผลิตไฟฟ้าสีเขียวประมาณ 42,300kWh ในแต่ละปี จากนั้นก็ติดตั้งระบบกักเก็บพลังงานที่มีกำลังการจ่าย 100 kW เพื่อกักเก็บไฟฟ้าได้กว่า 293kWh และสุดท้ายระบบ DeltaGrid® EVM ก็ถูกนำมาใช้เป็นระบบจัดการการชาร์จหลักเพื่อควบคุมการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ และการกักเก็บพลังงาน
การชาร์จ EV ด้วยซอฟท์แวร์ DeltaGrid
เราหวังว่าการแนะนำในครั้งนี้จะแสดงให้คุณเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงของ EV ไม่ใช่ความฝันที่ห่างไกล การใช้พลังงานไฟฟ้ากำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองมาตรฐานที่ขับเคลื่อนธุรกิจสีเขียวของลูกค้าเดลต้าทั่วโลก ข้อได้เปรียบที่สำคัญของเดลต้าในด้านการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าและการดำเนินงานด้านพลังงานสีเขียวคือ ระบบ DeltaGrid® ซึ่งเป็นระบบการจัดการพลังงานอย่างครบวงจรของเรา
ด้วยความแตกต่างจากระบบจัดการการชาร์จแบบเดิมที่เน้นการตรวจสอบอุปกรณ์ การจัดการยานยนต์ไฟฟ้าเป็นระบบรวมที่จัดการและควบคุมเครื่องชาร์จ กำลังไฟฟ้า การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และการกักเก็บพลังงาน ด้วยเหตุนี้ จึงบรรลุเป้าหมายหลายประการขององค์กร เช่น บริการชาร์จที่ไร้ขีดจำกัด เพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่งพลังงาน และปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้เหมาะสม ทั้งหมดนี้ช่วยให้เราสามารถประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้
เดลต้าพร้อมที่จะสนับสนุนผู้ประกอบการสถานีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยในการติดตั้งเครื่องชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่ปรับขนาดได้และยืดหยุ่นพร้อมการจัดการแบบครบวงจรเพื่อเป็นโซลูชั่นที่รองรับอนาคต เรานำเสนอมากกว่าการขาย เดลต้าเป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์ที่มีชื่อเสียงซึ่งมีการผลิตและการวิจัยและพัฒนาในประเทศไทย
ทีมวิศวกรของเราพร้อมช่วยเหลือคุณในทุกเรื่องตั้งแต่การสำรวจและการติดตั้งไปจนถึงบริการหลังการขาย สามารถเข้ามาชมผลงานของเราและติดต่อกับทีมฝ่ายขายในประเทศไทยได้ที่: ev.det@deltaww.com หรือโทร +662 709 2800 #5808