ข่าวสารและกิจกรรม
Blog & eBook

ผู้ชนะกองทุน Delta Angel Fund สร้างธุรกิจจากโซลูชันที่ประสบความสำเร็จในฐานะผู้เชียวชาญด้านดิจิทัลของประเทศไทยได้อย่างไร

บทสัมภาษณ์กับผู้ชนะกองทุน Delta Angel Fund: ดร. เด่นชัย วรเดชจำเริญ

ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา เดลต้า ประเทศไทยและกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (DIP) ของกระทรวงอุตสาหกรรมได้พัฒนากองทุน Angel Fund ให้เป็นแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งเพื่อสร้างมูลค่าทางธุรกิจโดยส่งเสริมสตาร์ทอัพท้องถิ่นในด้านอุตสาหกรรมอัจฉริยะและการใช้งานพลังงาน

ตั้งแต่ปี 2016 ถึงปี 2021 เดลต้าได้มอบเงินทุนกว่า 19 ล้านบาทให้กับ 180 ทีมที่ชนะ เพื่อช่วยสนับสนุนความสำเร็จในฐานะผู้บุกเบิกการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

เรื่องราวความสำเร็จครั้งใหญ่ของกองทุน Delta Angel Fund for Startups คือผู้ชนะปี 2018 ดร. เด่นชัย วรเดชจำเริญ CEO บริษัท TIE Smart Solutions ซึ่งใช้กลยุทธ์ทางธุรกิจและทักษะเชิงปฏิบัติที่ได้รับจากการแข่งขัน เพื่อสร้างธุรกิจโซลูชันอาคารอัจฉริยะ

เราได้พูดคุยกับอาจารย์หนุ่มอายุน้อยผู้มีความมุ่งมั่นที่ผันตัวมาเป็นผู้ประกอบการเพื่อฟังว่าเขาประสบความสำเร็จในการนำระบบระบายอากาศในอาคารและโซลูชัน HVAC ออกสู่ตลาดได้อย่างไร ในขณะเดียวกันก็แสดงหาส่วนแบ่งทางการตลาดการสร้างดิจิทัลของประเทศไทย

คุณช่วยเล่าให้ฟังเราเกี่ยวกับโซลูชันของคุณและบริษัท TIE Smart Solutions ได้ไหม?

Denchai

บริษัท TIE Smart Solutions Co., Ltd. ก่อตั้งขึ้นในปี 2018 เชี่ยวชาญด้านระบบระบายอากาศและปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบขนาดใหญ่สำหรับอาคารและโรงงาน การถือกำเนิดของอุตสาหกรรม 4.0 ระบบ AI และ IoT แบบบูรณาการช่วยให้เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทางอุตสาหกรรม การควบคุมคุณภาพ และการวิเคราะห์ความล้มเหลวของอุปกรณ์ในเครื่องจักรได้

ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ทำให้เราเป็นผู้นำในการให้บริการระบบอัตโนมัติ โซลูชันการปรับพลังงานให้เหมาะสม และระบบข้อมูลการจัดการพลังงาน (EMIS) ในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังให้คำปรึกษาแก่องค์กรชั้นนำหลายแห่งโดยมุ่งเน้นที่ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและการบำรุงรักษาเพื่ออายุการใช้งานอุปกรณ์ที่ยั่งยืน

เราเชื่อว่าวันนี้ TIE Smart Solutions เป็นตัวเลือกแรกในประเทศไทยสำหรับผู้ที่สนใจปรับปรุงอาคารหรือโรงงานในด้านการจัดการพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพ

คุณเข้าร่วมกองทุน Delta Angel Fund ได้อย่างไร และกองทุนนี้ช่วยให้สามารถคุณพัฒนาโซลูชันและขยายธุรกิจได้อย่างไร?

Denchai

บริษัท TIE Smart Solutions ได้เข้าร่วมกองทุน Delta Angel Fund ตั้งแต่ก่อตั้งบริษัท ในระหว่างการแข่งขัน เราได้เรียนรู้หลักการ Business Model Canvas และวิธีนำนวัตกรรมของเราไปใช้ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ต้นแบบไปจนถึงผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับหลายขั้นตอน รวมถึงการตรวจสอบความถูกต้องของตลาดและกระปรับตัวเข้ากับตลาดผ่านโปรแกรมบ่มเพาะ

ทุกวันนี้ เรายังคงได้รับโอกาสในการสร้างเครือข่ายใหม่ ๆ กับบริษัทสตาร์ทอัพในท้องถิ่นรายอื่น ๆ ผ่านโปรแกรม Delta Angel Fund Alumni Reunion นอกจากนี้ เรายังได้รับความช่วยเหลือในการเตรียมตัวสำหรับการระดมทุนจากนักลงทุน VC ชั้นนำของประเทศไทย ไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้วิธีขยายสู่ตลาดภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอีกสองปีข้างหน้า

นับตั้งแต่ปรับรูปแบบธุรกิจของเรา บริษัท TIE Smart Solutions ได้เติบโตและได้รับการยอมรับจากผู้รับเหมาชั้นนำในประเทศไทยด้วยการติดตั้งระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะที่ด้านบนของโซลูชันระบบอัตโนมัติในอาคาร (BAS) และระบบ Chiller Plant Manager System (CPMS) โดยขณะนี้เรากำลังเจรจาเพื่อขยายสู่ตลาด IoT และตลาดอาคารสีเขียวของเวียดนาม

ตลาดโซลูชันอาคารอัตโนมัติในประเทศไทยมีศักยภาพในการเติบโตอย่างไร และคุณมองอุตสาหกรรมนี้ว่าสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างไร?

อาคารสีเขียวและแนวโน้มเมืองอัจฉริยะกำลังกระตุ้นการเติบโตอย่างต่อเนื่องในตลาด BAS ของประเทศไทย ในอัตราอย่างน้อย 13-15% ในแต่ละปี แม้จะมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง แต่ผู้รับเหมา BAS ในประเทศไทยยังคงมีข้อจำกัดในด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ

แม้ว่าผู้รับเหมาในท้องถิ่นจะเป็นผู้นำเข้าตัวควบคุม BAS หลายตัวจากตลาดที่พัฒนาแล้ว แต่พวกเขาไม่เข้าใจวิธีการออกแบบไดอะแกรมควบคุม BAS ที่เหมาะสมและการใช้ข้อมูลเพื่อรับประกันการประหยัดพลังงานยังอยู่ในขั้นเริ่มต้น

เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ TIE ได้พัฒนาบริการแพลตฟอร์ม freemium ที่ให้บริการลูกค้า:

  1. การตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่ด้วย BAS สำหรับการประเมินการประหยัดพลังงาน
  2. การวิเคราะห์การควบคุม BAS และไดอะแกรมวงจรไฟฟ้า

บริการฟรีนี้ให้การประเมิน BAS และ HVAC ในอาคารและโรงงานนานถึงหนึ่งสัปดาห์ หลังจากการประเมิน เราขอเสนอโซลูชันแพลตฟอร์ม AI ของเราซึ่งประกอบด้วย:

  1. BAS ที่ออกแบบใหม่เพื่อประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
  2. TIE-EMIS (โมดูลวิเคราะห์ข้อผิดพลาดอัตโนมัติ)
  3. TIE-CON (การปรับให้เหมาะสมอัตโนมัติ): แพ็คเกจควบคุมการปรับให้เหมาะสมอัตโนมัติเต็มรูปแบบเพื่อทำให้ BAS ที่ได้รับการปรับปรุงอัตโนมัติด้วยอัลกอริทึม AI ของเรา ซึ่งรับประกันการประหยัดพลังงาน 10% โดยใช้พลังงาน HVAC ทั้งหมด

เหตุใดการรวบรวมและการใช้ข้อมูลในโซลูชั่น IoT จึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้โรงงานและอาคารของประเทศไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น?

แพลตฟอร์มการรวมข้อมูลของ TIE สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพอาคารและโรงงาน

ในโลกยุคข้อมูลข่าวสารในปัจจุบันนี้ ข้อมูลเป็นองค์ประกอบสำคัญสู่ความสำเร็จ พลังของ IoT อยู่ที่ความสามารถในการบันทึกข้อมูลแบบเรียลไทม์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกไว้คือข้อมูลทั้งหมดนี้ไม่มีความหมายอะไรเลย หากว่าคุณไม่สามารถเปลี่ยนข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นความชาญฉลาดแล้วใช้ประโยชน์จากมันเพื่อดำเนินการต่อไป

ด้วยสถาปัตยกรรมที่ถูกต้อง จึงทำให้ IoT สามารถแปลงข้อมูลที่มีให้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อช่วยผู้จัดการในการพิจารณาว่าควรดำเนินการอะไรต่อไป โรงงานและอาคารในประเทศไทยใช้พลังงานปริมาณมหาศาลทุกวัน ดังนั้น ข้อมูลที่ชาญฉลาดจะช่วยนำการจัดการพลังงานไปสู่ระดับต่อไปอย่างแน่นอน

ขอแสดงความยินดีกับธุรกิจของคุณที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วด้วย! อะไรคือปัจจัยของความสำเร็จที่สำคัญสำหรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของบริษัทและการขยายขนาดในช่วงสี่ปีที่ผ่านมา?

ตลาด EMS หรือ BAS ทั่วโลก

การตรวจสอบตลาดและรูปแบบรายได้ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของเรา TIE พัฒนาวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับการตรวจสอบตลาดแบบ Deep Tech และปรับปรุงรูปแบบรายได้สำหรับการเจาะตลาด BAS เพื่อให้บรรลุปัจจัยทั้งสองอย่างนี้

การใช้ BAS สำหรับอาคารสีเขียวในประเทศไทย

 

ในประเทศไทย เราได้กำหนดข้อจำกัดทางธุรกิจของ BAS ในแง่ของผลการปฏิบัติงานตามผู้ปฏิบัติงานและตามผู้รับเหมาในการตรวจสอบความถูกต้องของตลาด ด้วยเหตุนี้ เราจึงระบุการออกแบบการควบคุม BAS ว่าเป็นปัญหาหลักที่ทำให้เกิดข้อจำกัดในการควบคุมการปรับให้เหมาะสม

ด้วยข้อมูลนี้ เราจึงรวมโมดูล TIE-MIS และ TIE-CON เข้ากับผู้รับเหมา BAS ที่มีศักยภาพอย่าง Jardine Engineering Corporation (JEC) และ GIS GROUP เพื่อนำเสนอการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุม AI อย่างสมบูรณ์ รวมถึงการปรับปรุง BAS และการประหยัดพลังงานที่ได้รับการประกัน

                                   

วันนี้ เราพบว่ารูปแบบรายได้ของเราแตะอย่างน้อย 20 ล้านบาทในปี 2022 ซึ่งเป็นรายได้ 3 เท่าของเราในปี 2020! นอกจากนี้เรายังหวังว่าการประเมินมูลค่าของเราจะเพิ่มขึ้นด้วยเงินทุน Series A ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า 500 ล้านบาทซึ่งได้รับการประเมินโดยบริษัท Ensol Co, Ltd. ซึ่งเป็นนักลงทุนระยะเริ่มต้นของเรา

ตอนนี้คุณเป็นส่วนหนึ่งในโครงการที่น่าตื่นเต้นอะไรบ้าง และโครงการเหล่านั้นได้ช่วยเหลือลูกค้าของคุณอย่างไร?

การเพิ่มประสิทธิภาพโรงงานชิลเลอร์ (Chiller) สำหรับศูนย์ Robinson Lifestyle สี่แห่ง

TIE ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจและข้อตกลงความร่วมมือกับบริษัท BCPG Public Company ผู้นำด้านพลังงานหมุนเวียนของไทย เพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดในการเพิ่มประสิทธิภาพระบบ Chiller Plant Manager Systems (CPMS) และก้าวเป็นผู้นำเหนือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ความร่วมมือระหว่าง TIE และ BCPG ได้รับสัญญาจาก Robinson Lifestyle เพื่อติดตั้ง CPMS ให้กับ ศูนย์ Robinson Lifestyleสี่แห่ง และติดตั้ง EMIS และการควบคุม AI Optimization เพื่อประหยัดการใช้พลังงานให้กับโรงงานชิลเลอร์ (Chiller) 10% ภายในเดือนสิงหาคม 2022 ห้างสรรพสินค้าโรบินสันยังวางแผนที่จะขยายโซลูชันของเราไปยังศูนย์การค้าอีก 20 แห่งทั่วประเทศไทย

 

กระบวนการ AI และ EMIS โดย TIE – Root Cause Diagnostics with Ensol Co., Ltd

ภายในสิ้นปี 2021 บริษัท Ensol Co., Ltd ที่ปรึกษาด้านพลังงานและผู้ให้บริการ ได้ลงทุนใน TIE เพื่อเปลี่ยนบริการให้คำปรึกษาเป็นบริการแบบครบวงจรด้วยโซลูชันอัจฉริยะโดยใช้แพลตฟอร์มและผลิตภัณฑ์ TIE ของเรา

ปัจจุบัน Ensol ร่วมมือกับ TIE เพื่อให้บริการ freemium และโซลูชันสำหรับการวิเคราะห์และควบคุมคำสั่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่ให้กับ Lotus สองแห่ง โรงงานนำร่องขนาดใหญ่และขนาดกลางจะได้รับการประเมินด้านการประหยัดพลังงานจนถึงเดือนมิถุนายน 2022 ก่อนที่จะขยายโซลูชันไปยังร้านค้าอีก 200 แห่งในประเทศไทย

 

แผนผังโครงการ SET

ในปี 2022 TIE จะขยายขอบเขตผลิตภัณฑ์ของเราไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อรวมการติดตั้งแพลตฟอร์ม AIoT เพื่อเชื่อมต่อและควบคุม BAS 12 ชั้น ให้ประหยัดพลังงานขึ้น 15% สำหรับระบบ VAV AHU โครงการนี้มีการวางแผนเพื่อใช้เป็นต้นแบบสำหรับดัชนี ESG100 และกำหนดขั้นตอนสำหรับการทำงานร่วมกันในอนาคตระหว่าง TIE และ SET ในปี 2023

Smart BIM สำหรับการรับรองอาคารสีเขียว

ความร่วมมือด้านการผลิตครั้งล่าสุดของเราคือ การร่วมทุนระหว่าง TIE และบริษัท Africvs Co.Ltd (บริษัทตรวจสอบอาคารสีเขียวที่ดีที่สุดในประเทศไทย) เพื่อให้บริการอาคารสีเขียวรูปแบบใหม่ บริการนี้จะเปิดใช้งาน IoT และ BIM (การสร้างแบบจำลองข้อมูลอาคาร) ที่ใช้ข้อมูลอาคารสีเขียวสำหรับการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารพาณิชย์ 200 แห่งของฐานข้อมูลลูกค้า Africvs ซึ่งโครงการแรกจะเปิดตัวในกลางปี 2022 ณ อาคารมูลนิธิส่งเสริมสุขภาพไทย

อะไรคือความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่สตาร์ทอัพของเมืองไทยต้องเผชิญ และธุรกิจต่าง ๆ จะช่วยสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมที่ดีขึ้นสำหรับโซลูชันอุตสาหกรรมได้อย่างไร?

 

ตอนนี้มีในประเทศไทยมีสตาร์ทรายใหม่หลายร้อยรายเกิดขึ้นทุกวัน แต่มีเพียงไม่กี่รายเท่านั้นที่สามารถอยู่รอดได้หลังจากหนึ่งปีที่ก่อตั้ง พวกเขาต้องเผชิญกับอุปสรรค์มากมาย เช่น การขาดความรู้ทางการเงิน นวัตกรรมการวิจัยและพัฒนาที่ไม่เพียงพอ กลยุทธ์ทางการตลาดที่ไม่เหมาะสม และขาดความสามารถทางภาษาอังกฤษ

จำนวนสตาร์ทอัพที่สูงในประเทศไทยทำให้เกิดการแข่งขันที่ดุเดือดกับผู้เล่นชั้นนำที่ครองตลาด การเริ่มต้นที่ประสบความสำเร็จจำเป็นต้องมีความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมมากมาย โอกาสมีอยู่เสมอ แต่ผู้มาใหม่ต้องทำวิจัยที่เหมาะสมเกี่ยวกับกลุ่มอุตสาหกรรมของพวกเขาเพื่อให้โดดเด่นกว่าที่เหลือ!

อะไรคือคำแนะนำที่คุณอยากมอบให้ผู้ประกอบการไทยที่ต้องการนำเสนอแนวคิดให้กับโครงการ Angel Fund และหาผู้สนับสนุนธุรกิจและพันธมิตรทางธุรกิจที่ดีเพื่อการเติบโต?

เราเป็นตัวแทนประเทศไทยนำเสนอโซลูชันต่อนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทรา โมดี

การมีความคิดที่ชัดเจนสำหรับนักลงทุนหรือคู่ค้าทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญมาก ในช่วงเวลาสั้น ๆ คุณต้องสร้างความประทับใจแรกให้ดี ดังนั้น จึงเป็นความคิดที่ดีที่จะใช้เวลาส่วนมากในการทำวิจัยเกี่ยวกับตัวนักลงทุนเองและสิ่งที่พวกเขาได้ลงทุนไปก่อนหน้านี้ โดยการทำให้เห็นภาพ เช่น การทำ PowerPoint ที่สามารถเพิ่มและแสดงจุดต่าง ๆ ที่คุณสามารถกำหนดได้

จำไว้ว่าการที่คุณถูกปฏิเสธหลังการประชุมไม่ได้แปลว่าความคิดหรือการนำเสนอของคุณมีข้อบกพร่องเสมอไป ยิ่งคุณนำเสนอไอเดียของคุณมากเท่าไหร่ คุณก็จะได้รับคำติชมมากขึ้นเท่านั้น ในขณะเดียวกัน คุณก็จะมีสกิลการพูดต่อหน้าผู้ชมและการนำเสนอมากขึ้น

นวัตกรรมจากโครงการ Delta Angel Fund จะช่วยสร้างอนาคตที่ดีกว่าให้กับประเทศไทยได้อย่างไร?

จากโครงการ Delta Angel Fund สู่การระดมทุนในปี 2020

โครงการ Delta Angel Fund เป็นกองทุนหนึ่งในประเทศไทยที่สนับสนุนต้นแบบหรือขยายการใช้งานเชิงพาณิชย์สำหรับสตาร์ทอัพด้าน Deep Tech ในระยะเริ่มต้น กองทุนนี้ไม่เพียงแต่ช่วยในด้านการเงินเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำงานแบบลีนอีกด้วย สิ่งเหล่านี้สามารถมอบโอกาสให้กับสตาร์ทอัพด้านนวัตกรรมของไทยในการขยายจากแนวคิดหรือต้นแบบไปสู่กธุรกิจได้

ด้วยการสนับสนุนจากกองทุน Delta Angel Fund สตาร์ทอัพจำนวนมากประสบความสำเร็จในการเปิดตัวผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์เพื่อทดแทนสินค้านำเข้าและลดการประหยัดพลังงาน สิ่งนี้นำไปสู่การเติบโตของ GDP ของประเทศไทย หากปราศจากการสนับสนุนนี้ ความฝันของเราก็ไม่สามารถเป็นจริงได้แน่นอน

 


01 เม.ย. 2565