ข่าวสารและกิจกรรม
ข่าวความรับผิดชอบต่อสังคม

เดลต้าร่วมกับบริษัทเอกชนชั้นนำ สอวช.และสวทช. ในโครงการแซนด์บ็อกซ์การผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง

กรุงเทพฯ ประเทศไทย 6 กุมภาพันธ์ 2567 - บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัทชั้นนำเซ็นต์ลงนามความร่วมมือโครงการแซนด์บ็อกซ์การผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดลต้า ได้เข้าร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวง อว. สอวช. และเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 13 แห่ง ร่วมกับเครือข่ายบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศไทยในได้แก่ (1) บริษัท อนาล็อกดีไวเซส (ประเทศไทย) จำกัด (2) บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (3) บริษัท ฮานาไมโครอิเล็คโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) (4) บริษัท ฮานา เซมิคอนดักเตอร์ (อยุธยา) จำกัด (5) บริษัท อินฟินีออน เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (6) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ (7) บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ร่วมกันจัดขึ้น

ศาสตราจารย์ ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดกิจกรรมลงนาม และ นายยงยุทธ ภักตร์ดวงจันทร์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายรัฐบาลและกิจการสาธารณะของเดลต้า กล่าวในโอกาสนี้ว่า “เดลต้ารู้สึกเป็นเกียรติที่ได้ร่วมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการศึกษาและบุคลากรของประเทศไทยในภาคส่วนเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง โครงการริเริ่มนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นที่จะเสริมศักยภาพนักเรียนไทยด้วยทักษะที่จำเป็นต่อการเติบโตในยุคดิจิทัลและมีส่วนร่วมในความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ”

โครงการแซนด์บ็อกซ์การผลิตกำลังคนด้านเซมิคอนดักเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัด อว. สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ หรือ TMEC พร้อมด้วยเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในความดูแลของกระทรวง อว. ร่วมกับเครือข่ายบริษัทเอกชนระดับชั้นนำของประเทศไทยในอุตสาหกรรม Semiconductor and Advanced Electronics จำนวน 7 แห่ง ร่วมกันกำหนดแผนและขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูงเพื่อตอบสนองความต้องการกำลังคนทั้งในระยะสั้น (เร่งด่วน) ระยะกลาง และระยะยาว ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและดึงดูดบริษัทต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น

โครงการริเริ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเร่งการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถขั้นสูงเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในประเทศไทย ผู้มีความสามารถชาวไทยที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับประโยชน์จากเส้นทางการเรียนรู้ระดับโลกสำหรับการประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมขั้นสูงเมื่อสำเร็จการศึกษา การเรียนมุ่งเน้นไปที่นักศึกษาจะได้รับโอกาสฝึกงานในสถานประกอบการชั้นนำ ซึ่งตรงข้ามกับการศึกษาแบบดั้งเดิม หลักสูตรการฝึกอบรมมีความยืดหยุ่นและมุ่งเน้นไปที่การปฏิบัติงานของแต่ละคนมากกว่าเกรด

ตั้งแต่ปี 2559 เดลต้าได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยพันธมิตรของไทย 7 แห่งในโครงการเดลต้าออโตเมชันอะคาดิมี ผู้มีความสามารถระดับแนวหน้าเข้าร่วมในการแข่งขัน Advance Automation ระดับนานาชาติหรือ Delta Cup นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2565 เดลต้า ประเทศไทย ได้เปิดห้องแล็ป Power Electronics สองแห่งที่ มจธ. และ สจล.โดยห้องแล็ปเดลต้าพาวเวอร์ อิเล็กทรอนิกส์นี้มุ่งหมายที่จะเป็นห้องแล็ประดับชั้นนำที่จะพัฒนาวิศวกรคนรุ่นใหม่เยาว์ชนไทย เพื่อพัฒนาทักษะขั้นสูง และส่งเสริมการวิจัยด้านพาวเวอร์อิเล็กทรอนิกส์ในท้องถิ่นด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชั้นนำของเดลต้า


14 ก.พ. 2567